THAILAND
0765376
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
828
3745
11054
750174
19092
33059
765376

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-20:00
Visitors Counter

JBGMusic

บึงบอระเพ็ด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ยอดเขาโมโกจู
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
น้ำตกคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
เขาหลวง
วนอุทยานเขาหลวง
หุบป่าตาด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน

Tumpratun 

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน

 

ประวัติ/ความเป็นมา

          สืบเนื่องจาก เมื่อครั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเขาปลาร้าเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2536 เพื่อทอดพระเนตรภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 3,000 - 5,000 ปี และทรงมีรับสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการสำรวจเพื่อที่จะอนุรักษ์ภาพเขียนสี พันธุ์ไม้ พร้อมทั้งอนุรักษ์สัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป กรมป่าไม้จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้ามาทำ  การสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ครอบคลุมพื้นที่เขาหินปูนเนื้อที่ประมาณ 13,052 ไร่ ประกอบด้วยภูเขา จำนวน 7 ลูก คือ เขาฆ้องชัย เขาน้ำโจน เขาน้อย เขาห้วยโศก เขาปลาร้า เขาบริวาร และเขาโยคาวจร ซึ่งมี พันธุ์ไม้ที่สำคัญ และสัตว์ป่าหายากโดยเฉพาะเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่ และในวันที่ 2 ตุลาคม    พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเยี่ยมชมเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน (หุบป่าตาด) อีกครั้ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุนได้รับประกาศจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม   พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

image001

สถานที่ตั้งและอาณาเขต

          สถานที่ตั้ง

          เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาฆ้องชัย หมู่ที่ 1 ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ติดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3438 หนองฉาง-ลานสัก หลักกิโลเมตรที่ 26-27 พิกัด 47P 0564025E 1706812N

          อาณาเขตติดต่อ ดังนี้

          ทิศเหนือ          จรด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3438 ตำบลทุ่งนางาม

          ทิศใต้             จรด ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยทับเสลา – ป่าห้วยคอกควาย

          ทิศตะวันออก     จรด ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาบางแกรก – ป่าทุ่งโพ

          ทิศตะวันตก      จรด ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยทับเสลา – ป่าห้วยคอกควาย

จำนวนพื้นที่

          1.พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จำนวน  13,052  ไร่

          2.พื้นที่ควบคุมเตรียมการผนวกเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จำนวน 4,790 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

          เป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากที่ลาดเชิงเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นเขตแดนระหว่างไทย-พม่า ซึ่งอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ และจังหวัดตาก บริเวณพื้นที่ภูเขาปลาร้า และเขาฆ้องชัย ลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้มีภูเขาที่มีลักษณะเป็นภูเขาโดด หรือภูเขาที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆ จำนวนทั้งหมด 14 ลูก ซึ่งมีเขาหินปูนที่สำคัญ 2 ลูก ประกอบด้วย

          เขาปลาร้า เป็นภูเขาที่มีความสูงของยอดสูงสุดประมาณ ๕๙๗ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสภาพที่เป็นเขาหินปูนทำให้มีความลาดชันของพื้นที่โดยเฉลี่ยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้พื้นที่โดยรอบของภูเขามีหน้าผาสูงชัน มีความสวยงาม ลักษณะของภูเขาวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร และกว้างประมาณ ๓ กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๒๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๕,๐๐๐ ไร่

image003

          เขาฆ้องชัย มีความสูงจากจุดสูงสุดประมาณ ๓๕๓ เมตร จากระดับน้ำทะเล ปานกลาง จากที่เป็นภูเขาหินปูน ทำให้พื้นที่โดยรอบของภูเขาฆ้องชัยมีหน้าผาสูงชัน มีความลาดชันโดยเฉลี่ยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ วางตัวของภูเขานี้ในแนวเหนือ-ใต้ เช่นเดียวกับเขาปลาร้า โดยมีความยาวประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร และกว้างประมาณ ๒ กิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๗ ตารางกิโลเมตร หรือ ๔,๓๗๕ ไร่ พื้นที่โดยรอบของพื้นที่ภูเขาดังกล่าวเป็นที่ราบที่มีความลาดชันอัตรา ๑ : ๑๐๐ นอกจากนั้น ในพื้นที่บริเวณนี้มีลำน้ำสองสาย ได้แก่ ห้วยทับเสลา ซึ่งไหลผ่านทางเหนือของเขาปลาร้าและเขาฆ้องชัย และห้วยขุนแก้วหรือห้วยคอกควายซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของภูเขาทั้งสองดังกล่าว และลำน้ำทั้งสองได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการสร้างเขื่อนได้แก่ เขื่อนทับเสลาและเขื่อนขุนแก้ว

image005

ลักษณะภูมิอากาศ

          เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ประกอบด้วย ๓ ฤดูกาลในรอบปี ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน

          ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม จนถึงเดือน ตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุกมากที่สุดในเดือน กันยายน   ซึ่งจะมีสภาพอากาศเป็นฤดูฝนกึ่งร้อนชื้นปนอยู่ด้วย

          ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึงเดือน มกราคม เป็นช่วงที่มีความหนาวเย็นเป็นระยะในพื้นที่

          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน เมษายน โดยเดือน เมษายน มีความร้อนจัดมากกว่าทุกเดือน

ลักษณะทางธรณีวิทยาและปฐพีวิทยา

          ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่เป็นภูเขาหินปูนที่เกิดในยุค Permian จากลักษณะทางเคมีของหินปูนก่อให้เกิดถ้ำจำนวนหลายแห่ง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ถ้ำที่สำคัญของเขาปลาร้า และเขาบริวาร ประกอบด้วย ถ้ำลม ถ้ำเพชร ถ้ำทอง และถ้ำป่าตาด ส่วนบริเวณเขาฆ้องชัย ประกอบไปด้วย  ถ้ำพรสวรรค์ ถ้ำน้ำทิพย์ ถ้ำค้างคาว และยังมีถ้ำอื่นๆ อีกหลายแห่งที่ยังมิได้สำรวจและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากถ้ำดังกล่าวแล้ว บริเวณโดยรอบภูเขาเป็นหน้าผาสูงชัน มีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงามแก่ผู้พบเห็น

ทรัพยากรป่าไม้

          ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จำแนกชนิดป่าไม้ออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

          1. ป่าดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยอดเขาหินปูนและที่ราบบนภูเขา เนื้อที่ประมาณ  

               5,220.8 ไร่ หรือ 40 % ของพื้นที่

          2. ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ชายเขาหินปูนและไหล่เขาเป็นส่วนใหญ่ เนื้อที่ประมาณ  

               7,318.2 ไร่ หรือ 60 % ของพื้นที่

ทรัพยากรสัตว์ป่า

ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน มีการจำแนกชนิดสัตว์ป่าที่พบ และชนิดสัตว์ป่าที่สำคัญ ที่มีการสำรวจเป็นเบื้องต้นแล้วตามรายงานประกอบการสำรวจจัดตั้งพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน ประกอบด้วย

          1. จำพวกนก                                 จำนวน  89  ชนิด

          2. จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม             จำนวน  25  ชนิด

          3. จำพวกเลื้อยคลาน                    จำนวน  29  ชนิด

          4. จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก      จำนวน    8  ชนิด

image007     image009

จุดเด่นภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

          - ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า ตั้งอยู่บริเวณยอดเขาปลาร้า บ้านชายเขา หมู่ที่ 3 ตำบล   ทุ่งนางาม อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี นายบุญธรรมและนายสงวน อินทประเทศ ชาวบ้านตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้ขึ้นไปพบภาพบนผาหินของถ้ำประทุน ในคราวที่ขึ้นไปหาของป่าและล่าสัตว์ ได้เห็นภาพเขียนด้วยสีแดงอยู่บนผนังถ้ำ คิดว่าพวกล่าสัตว์คงขึ้นมาเขียนทิ้งไว้ ต่อมาได้นำข่าวนี้ไปบอกกับข้าราชการอำเภอหนองฉาง ข่าวนี้แพร่ออกไปยัง คุณพลาดิสัย และอาจารย์พิศิษฐ์ สุริยกานต์ อาจารย์โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จึงพากันขึ้นไปดูแล้วเขียนเรื่องเผยแพร่ลงในหนังสือวารสารประชาศึกษา ปีที่ 30 ฉบับที่ 1 สิงหาคม 2521 ในเวลาเดียวกันอาจารย์วิทยา อินทโกศัย นักโบราณคดีกรมศิลปากรพร้อมด้วยคณะสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีในเขตจังหวัดอุทัยธานี ได้เข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ของทางราชการว่ามีการพบเห็นหลักฐานทางโบราณคดีบ้างหรือไม่ จนได้ทราบเรื่องการพบภาพเขียนบนผนังถ้ำประทุนบนเขาปลาร้าจากนายบุญธรรมเอง และ  นำทางขึ้นไปดู ต่อจากนั้นก็ส่งรายงานมายังกองโบราณคดีและได้มีการเผยแพร่ทางหน้าหนังสือพิมพ์ จากนั้นก็มีครูอาจารย์และข้าราชการพากันขึ้นไปชมอยู่เนืองๆ จนมีผู้พบขวานหินขัด 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งสมบูรณ์แต่อีกชิ้นหนึ่งมีเพียงครึ่งเดียว และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินอีกจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันหลักฐานที่พบเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี

image011

 image012

image013

 

 

 

 

 

      image018

 

 

 

 

 

              - หุบป่าตาด ถูกค้นพบครั้งแรกโดยพระครูสันติธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ.2522 เป็นส่วนหนึ่งของเขาห้วยโศก ซึ่งเป็นเขาบริวารของเขาปลาร้ามีลักษณะพิเศษเป็นถ้ำมาก่อน แต่เมื่อหลังคาถ้ำยุบตัวลงจึงกลายเป็นหุบหรือหลุมกลางภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ มีลักษณะป่าคล้ายป่าดึกดำบรรพ์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีทางออกเพียงทางเดียวและเป็นช่องแคบๆ จึงทำให้บริเวณนี้เป็นระบบนิเวศค่อนค้างปิด มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี มีต้นตาดขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้ที่น่าสนใจ เช่น ขนุนดิน ม้ากระทืบโรง รวมทั้งสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น เลียงผา เต่าเหลือง นกหลายชนิด และสิ่งมีชีวิตที่ค้นพบใหม่ของโลก คือ กิ้งกือมังกรสีชมพู พร้อมทั้งมีหินงอกหินย้อยที่ตามผนังถ้ำและอุโมงค์ถ้ำ พบเห็นทั่วไปภายในหุบป่าตาด ในปี พ.ศ.2547 หุบป่าตาด ได้รับคัดเลือกให้เป็น Unseen Thailand

image023      image021

image019

image025

                - ถ้ำค้างคาวเขาฆ้องชัย ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เป็นภูเขาหินปูนที่เกิดในยุค Permian อายุประมาณ 230 ล้านปี มีเนื้อที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,081.25 ไร่ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 353 เมตร ลักษณะตั้งแต่เชิงเขาขึ้นไปเป็นหน้าผาสูงชันตลอด รอบเขามีถ้ำที่สำคัญได้แก่ ถ้ำเขาฆ้องชัย ถ้ำพรสวรรค์ ถ้ำน้ำทิพย์ ถ้ำน้ำลอด และถ้ำค้างคาว เวลาออกหากินของค้างคาว ประมาณ 17.30 น. และกลับเข้าถ้ำ ประมาณ 05.30 น.

image027

 image029

 

credit : thaipbs

LineHorizonGif