THAILAND
0744722
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
1158
1633
4673
734416
31497
31256
744722

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-03-29:29
Visitors Counter

JBGMusic

MaeWong


288

          อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร

          ด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526

          กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองขลุงและป่าคลองแม่วงก์ในท้องที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปางศิลาทอง) จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์–แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เลย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นตำบลแม่เล่ย์ อำเภอแม่วงก์ และตำบลแม่เปิน กิ่งอำเภอแม่เปิน) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 54 ของประเทศ

1054map270109 155317

ขนาดพื้นที่
558,750.00 ไร่
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.1 (ด่านตรวจ กม.57)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.2 (ปางข้าวสาร)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.3 (เขาเขียว)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.4 (แม่เรวา)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.5 (ปางสัก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.6 (ซับตามิ่ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.7 (คลองเสือข้าม)
หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น

ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธงชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ และเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญ เช่น แร่ไมก้า

ลักษณะภูมิอากาศ
          สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิตำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 8.9 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 38.1 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี
ฤดุที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวอุทยานฯ อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ 558,750 ไร่ หรือ (894 ตร.กม.) สามารถจำแนกลักษณะพืชพรรณและสัตว์ป่าดังนี้
1.ลักษณะพืชพรรณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ประมาณ 0.88 % ป่าดิบแล้ง ประมาณ 21.85 % ป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณชื้นประมาณ 9.24% ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 59.05 % ป่าเต็งรัง ประมาณ 6.77 % และทุ้งหญ้าหรือไร่ร้าง ประมาณ 2.21 %
2. ทรัพยากรสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ดังนี้
2.1 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์
2.2 สัตว์จำพวกนก จำนวน 305 ชนิด 53 วงศ์
2.3 สัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 22 ชนิด 11 วงศ์
2.4 สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 7 ชนิด 4 วงศ์
2.5 ปลา จำพวกปลาน้ำจืด จำนวน 68 ชนิด 14 วงศ์

การเดินทาง
          รถยนต์ เดินทางไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จากจังหวัดนครสวรรค์ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงแยกโค้งวิไล บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 307+500 ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1242 (ผ่านอำเภอปางศิลาทอง) ไปประมาณ 40 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1072 ไปอีก 10 กิโลเมตร จะพบสี่แยกคลองลาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1117 ถนนคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านพักโซนที่ 1 (โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) และเป็นเส้นทางไปบ้านพักโซนที่ 2 (โซนช่อง)
แผนที่เส้นทาง
1054map040209 110334
1054area220209 92721
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกแม่กระสา
          น้ำตกแม่กระสาเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดา 3 น้ำตก ใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปกลับ 3 วัน 2 คืน เส้นทางมีจุดที่ต้องปีนป่ายพอสมควร สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สลับกับดิบแล้ง มีความสูงกว่า 1,000 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น มีบางชั้นที่มีความสูงถึง 270 เมตร น้ำไหลแรงสวยงามตลอดปี
Maekrasa 1    Maekrasa 2
น้ำตกแม่กี
          น้ำตกแม่กีเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปกลับ 3 วัน 2 คืน เส้นทางไม่ลำบากมาก มีจุดที่ต้องปีนป่ายเพียงเล็กน้อย สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สลับกับดิบแล้งน้ำตกแห่งนี้ได้รับคำกล่าวชมจากหนังสือ ASEAN MAGAZINE เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเอเซีย มีความสูงประมาณ 200 เมตร แบ่งเป็นชั้นๆ ถึง 6 ชั้น น้ำไหลเกือบตลอดปี
Maekee 1    
น้ำตกแม่เรวา
          น้ำตกแม่รีวาเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปกลับ 3 วัน 2 คืน เส้นทางไม่ลำบากมาก มีจุดที่ต้องปีนป่ายเพียงเล็กน้อย สภาพป่าโดยส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สลับกับดิบแล้ง มีแอ่งน้ำลักษณะเป็นอ่างกลมกว้างราว 30-40 เมตร รับสายน้ำที่ตกลงมาเป็นชั้นๆ มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่ 3 มีความสูงที่สุดประมาณ 100 เมตร มีสภาพสวยงามมาก
1054scene220209 85416
บ่อน้ำแร่
          เป็นบ่อน้ำแร่ที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ น้ำมีอุณหภูมิประมาณ 42 องศาเซลเซียส รัศมีความกว้างประมาณ 4 เมตร มีสัตว์ป่าชุกชุม อยู่ในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บ่อน้ำแร่ (สถานีสื่อความหมายที่ 4) ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
                               Mineral Pool 1     Mineral Pool 2
Mineral Pool 3
แก่งลานนกยูง
          แก่งลานนกยูง ตั้งอยู่ในบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.4 (แม่เรวา) อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ มีลำน้ำแม่วงก์ไหลผ่านตลอดปี บริเวณโดยรอบมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่น บรรยากาศร่มรื่น ทางหน่วยพิทักษ์ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติแก่งลานนกยูง ระยะทาง 5 กิโลเมตร การเดินทางจากนครสวรรค์-ลาดยาว-สี่แยกเขาชนกัน-บ้านตลิ่งสูง-หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.4(แม่เรวา)-แก่งลานนกยูง เป็นระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร เป็นแก่งน้ำและแก่งหิน ที่รายล้อมด้วยป่าเขา ลำน้ำมีน้ำตลอดปี

* ปัจจุบัน ไม่มีกิจกรรมล่องแก่ง

fhxmfh

1054area220209 92853

ยอดเขาโมโกจู

          ยอดเขาโมโกจูเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ “โมโกจู” เป็นภาษากระเหรี่ยง แปลว่า “คล้ายว่าฝนจะตก” ยอดเขานี้ถูกปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกตลอดเวลา ในการเดินทางเพื่อพิชิตยอดเขาโมโกจูต้องใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไป-กลับ 4 คืน 5 วัน ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร มีความสูงประมาณ 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพเส้นทางเป็นการเดินขึ้นเขาสูงชัน ช่วงเวลาในการท่องเที่ยว ประมาณเดือน พ.ย.-ก.พ.

ec61ddb224a

 MG 0248

แก่งผาคอยนาง
          แก่งผาคอยนาง เป็นแก่งน้ำและแก่งหิน จากถนนคลองลาน-อุ้มผาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 1,400 เมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 400 เมตร จะถึงบริเวณแก่งหินขนาดใหญ่ที่มีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน ซึ่งเป็นลำน้ำสายหนึ่งในหลายๆ สายที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง จากบริเวณแก่งเดินขึ้นไปตามลำน้ำอีกประมาณ 350 เมตร จะถึง น้ำตกผาคอยนาง น้ำตกขนาดเล็กที่เด่นและสะดุดตา มีน้ำตก 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร นอกจากน้ำตกแล้วพื้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็ยังมีแก่งหินปูนมีน้ำไหลลดหลั่นเป็นชั้นเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนในเวลากลางวันและเป็นที่ชมทิวทัศน์ พักรับประทานอาหาร ในบรรยากาศท่ามกลางหุบเขาอันร่มรื่นเย็นสบาย บริเวณแก่งผาคอยนางนี้ นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้
03 7 
จุดชมวิวกิ่วกระทิง
          ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 16 กิโลเมตร ในเส้นทางขึ้นสู่ช่องเย็น เป็นจุดชมทัศนียภาพของผืนป่าแม่วงก์ และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม
111255223313
ช่องเย็น(กม.93)
          ช่องเย็น (กม.93) เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน - อุ้มผาง และเป็นจุดสุดท้ายที่ยานพาหนะเข้าถึง มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 20 องศาเซลเซียล จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern) นอกจากนี้ช่องเย็นยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีความสูงประมาณ 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา ตลอดทั้งปี ด่านขึ้นช่องเย็น เปิด-ปิด เวลา 06.00-18.00 น.
2 800x534

1311047446

1054area220209 92807

1054area220209 92239

ลานกางเต๊นท์ขุนน้ำเย็น
          ลานกางเต็นท์ขุนน้ำเย็น-อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 24 กิโลเมตร (กิโลที่ 89) เป็นสถานที่กางเต็นท์ เป็นจุดชมอาทิตย์ขึ้น-ตก และสามารถชมทัศนีภาพของป่าดงดิบเขา ได้ 360 องศา
1054105400922scene311019 154510

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
- เต็นท์เคบิ้น
- เต็นท์ขนาด 6 คน
- เต็นท์ขนาด 3 คน
- ลานกางเต็นท์
ร้านอาหาร - ร้านค้าสวัสดิการ
ที่พัก - แม่วงก์ 104 (วงก์วนา 5)
ที่พัก - แม่วงก์ 301,302 (แม่เรวา 1,2)
ที่พัก - แม่วงก์ 201/1 (ช่องเย็น 1)
ที่พัก - แม่วงก์ 201/5 (ช่องเย็น 5)
ที่พัก - แม่วงก์ 101 (วงก์วนา 3)
ที่พัก - แม่วงก์ 201/4 (ช่องเย็น 4)
ที่พัก - แม่วงก์ 201/3 (ช่องเย็น 3)
ที่พัก - แม่วงก์ 201/2 (ช่องเย็น 2)
อื่นๆ - ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านค้า - ร้านสหกรณ์แม่วงก์
ห้องประชุมสัมมนา - ห้องประชุม
ลานจอดรถ - ลานจอดรถ
ห้องน้ำ - ห้องน้ำชาย
ห้องน้ำ - ห้องน้ำหญิง
สวนหย่อม - สวนหย่อม
สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กม.ที่ 65 อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180
โทรศัพท์ : 055-766027
โซนกำแพงเพชร : 090-4579291 (ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์)
โซนนครสวรรค์ : 098-7973197 (หน่วยแม่เรวา)
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายนพดล ปราบหงษ์
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำหรับยานพาหนะ : คลิก
**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ
ร้านค้าสวัสดิการ
โซนกำแพงเพชร เปิดบริการทุกวันเวลา 08.00 น. - 16.30 น.
โซนนครสวรรค์ (แม่เรวา) ไม่มีร้านค้าสวัสดิการ ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมไป
สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
บริเวณที่ทำการที่อุทยานแห่งชาติ : AIS

CREDIT:The Gaijin Trips แบกเป้เที่ยว EP51 โมโกจู

LineHorizonGif