THAILAND
0772570
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
600
847
1933
754322
26286
33059
772570

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-24:10
Visitors Counter

JBGMusic

KlongLan


1444725808 Getza209JP o

           กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 192/2523 ลงวันที่ 28 มกราคม 2523 ให้นายปรีชา จันทร์ศิริตานนท์ นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจและจัดพื้นที่บริเวณป่าคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพป่าไม้สัก และไม้กระยาเลยสมบูรณ์มาก เป็นภูเขาสูงประกอบด้วยทิวทัศน์และธรรมชาติสวยงามมาก เป็นป่าต้นน้ำลำธาร เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน2525 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าคลองลานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองลานในท้องที่ ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลาน และตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 191 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 44 ของประเทศ
          อุทยานแห่งชาติคลองลาน ตั้งอยู่ท้องที่ ตำบลโป่งน้ำร้อน คลองน้ำไหล คลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 2 ลิปดา –16 องศา 20 ลิปดาเหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 99 องศา 6 ลิปดา – 99 องศา 19 ลิปดาตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 187,500 ไร่ หรือ 300 ตารางกิโลเมตร

1044map270109 74842

ขนาดพื้นที่
187,500.00 ไร่
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยจัดการต้นน้ำขุนลาน
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.1 (แม่พืช)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.2 (คลองน้ำไหล)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.3 (เพชรจะขอ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองสวนหมาก)

ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำปิง

ลักษณะภูมิอากาศ
          สภาพภูมิอากาศในเขตอุทยานแห่งชาติ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 38 องศาเซลเซียส ดู ฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคม 17 องศาเซลเซียส ในฤดูฝนมีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,300 มิลลิเมตรต่อปี

พืชพรรณและสัตว์ป่า
          ป่าดงดิบแล้ง ขึ้นอยู่ทั่วไปที่ระดับความสูงประมาณ 500เมตรขึ้นไป ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน สมพง ยมหอม พยอม สมอพิเภก เป็นต้น ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) คิดเป็น 13.33 % ของพื้นที่ทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าเบญจพรรณผสมป่าดงดิบ ซึ่งคิดเป็น 35.60 % ของพื้นที่ทั้งหมดของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ที่สำคัญของป่าได้แก่ ประดู่ สัก ตะแบก มะค่าโมง และไผ่ชนิดต่างๆ ป่าชนิดอื่นๆซึ่งประกอบด้วยป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) ซึ่งพบในระดับความสูงประมาณ 400 – 600 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญของป่าได้แก่ เต็ง รัง ยอป่า สมอพิเภก รกฟ้า และสมพง เป็นต้น ป่าไผ่ ซึ่งสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ไผ่ชนิดต่างๆซึ่งขึ้นกระจายเป็นหย่อมๆ นอกจากนี้ก็มีป่าหญ้า

สัตว์ป่า
          สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบรวมทั้งหมด 92 ชนิด จาก 27 วงศ์ รายละเอียดแสดงดังตาราง 1 ในภาคผนวก ร้อยละ 4.35 หรือ 4 ชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สำรวจพบเป็นสัตว์ที่มีความชุกชุมระดับมาก ร้อยละ 81.58 หรือ 75 ชนิด เป็นสัตว์ที่มีความชุกชุมระดับปานกลาง ร้อยละ 14.13 หรือ 13 ชนิด เป็นสัตว์ที่มีความชุกชุมระดับน้อย ร้อยละ 8.70 หรือ 8 ชนิด ของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Endangered species) โดยพิจารณาจาก ประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม ได้แก่ นากใหญ่ขนเรียบ (L.perspicillata) ชะมดเช็ด (V.malaccensis) แมวป่า (F.chaus) เสือลายเมฆ (N.nebulosa) เสือดาว เสือดำ (P.pardus) เสือโคร่ง (P.tigris) วัวแดง (B.javanica) และช้างป่า (E.maximus) ร้อยละ 3.26 หรือ 3 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ (Vulnerable species) โดยพิจารณาจากประชากรถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม ได้แก่ หมาใน(C.alpinus) เสือไฟ(F.temmincki) และกระทิง(B.quarus) ในช่วงสำรวจพบรอยเท้าสัตว์กีบชนิดหนึ่งทางทิศใต้ น่าจะเป็นรอยเท้าควายป่าแต่ยังไม่ยืนยัน
          นกพบทั้งหมด82 ชนิด ใน 27 วงศ์ รายละเอียดดังตารางที่ 2 ในภาคผนวก ร้อยละ 17.03 หรือ 14 ชนิด ของนกที่สำรวจพบมีระดับความชุกมาก ร้อยละ 80.49 หรือ 66 ชนิดที่มีระดับความชุกชุมปานกลาง และร้อยละ 2.44 หรือ 2 ชนิด มีระดับความชุกชุมน้อย ในจำนวนนกที่พบทั้งหมดไม่ปรากฏว่ามีนกชนิดใดที่มีสถานภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือใกล้จะสูญพันธุ์(Valnerable or Endangered species) เมื่อพิจารณาจากประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม
          สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกพบทั้งหมด 26 ชนิด ใน 5 วงศ์ รายละเอียดแสดงไว้ในตารางที่ 3 ร้อยละ 23.08 หรือ 6 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีระดับความชุกชุมมากร้อยละ 50.00 หรือ 13 ชนิด มีระดับความชุกชุมปานกลางและร้อยละ 26.92 หรือ 7 ชนิด มีระดับความชุกชุมน้อยร้อยละ 46.15 หรือ 12 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์(Endangered species) โดยพิจารณาจากประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัยและปัจจัยคุกคาม เช่น อึ่งกรายลายเลอะ(L.hasselti) เขียดหลังปุ่มที่ราบ(P.martensi) กบนา(R.rugulosa) ปาดเคราะธรรมดา(P.parvulus) ฯลฯ ร้อยละ 23.08 หรือ 6 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์(Endangered species) โดยพิจารณาจากประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม เช่น เขียดตะปาด(R.leucomystax) อึ่งน้ำเต้า(M.ornata) เขียดชะง่อนหิน(R.livida) กบหนอง(R.limnocharis)
          สัตว์เลื้อยคลานพบทั้งหมด 35 ชนิดใน 11 วงศ์ รายละเอียดดังตารางที่ 4 ในภาคผนวก ร้อยละ 2.86 หรือ 1 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีระดับความชุกชุมมาก ร้อยละ 68.57 หรือ 24 ชนิด มีระดับความชุกชุมปานกลาง และร้อยละ 28.57 หรือ 10 ชนิดมีระดับความชุกชุมน้อย ร้อยละ 31.43 หรือ 11 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์(Endangered species) โดยพิจารณาจากประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม เช่น เต่าหวาย(H.grandis) เต่าหกดำ(M.emys) กิ้งก่าบินคอแดง(D.blanfordi) แย้(L.belliana) ฯลฯ ร้อยละ 25.74 หรือ 9 ชนิดของสัตว์ที่สำรวจพบมีสถานภาพที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์(Vulnerable species) โดยพิจารณาจากประชากร ถิ่นที่อยู่อาศัย และปัจจัยคุกคาม เช่น เต่าเหลือง(I.elongata) จิ้งเหลนหางแบน(C.platyurus) กิ้งก่าหางแดง(C.platyurus) จิ้งเหลนหลากหลาย(M.maculania)
          ปลาน้ำจืด จากการสำรวจตามลำคลองต่างๆพบปลาทั้งหมด 30 ชนิดใน 11 วงศ์ ปลาที่พบส่วนมากเป็นสมาชิกในวงศ์ปลาตะเพียน(Cypridae) เช่น ปลาซิวใบไผ่(D.regina) ปลาซิวควาย(R.trilineata) ปลาเวียน(T.tambroides)
การเดินทาง
          รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ถนนสายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ก่อนถึงตัวจังหวัดกำแพงเพชร ที่โค้งวิไล เลยหลักกิโลเมตรที่ 307 มานิดหน่อยพอถึงสะพานลอยให้เลี้ยวซ้ายตามถนนหมายเลข 1242 ผ่านอำเภอปางศิลาทอง จนไปถึงสามแยกเขาน้ำอุ่น เลี้ยวขวาตามถนนหมายเลข 1072 ถึงสี่แยกตลาดคลองลาน ขับรถเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองลาน หรือ จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ถนนสายเอเซียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ก่อนถึงตัวจังหวัดกำแพงเพชรตรงหลักกิโลเมตรที่ 346 เลี้ยวซ้ายที่ตลาดบ้านคลองแม่ลายเข้าไปตามถนนสายคลอง แม่ลาย-อุ้มผาง ระยะทาง 46 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกตลาดคลองลานจะมีทางแยกขวามือ เข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งอยู่ใกล้กับน้ำตกคลองลาน

1044area140611 103408

1044map180209 80624

สถานที่ท่องเที่ยว

แก่งเกาะร้อย (Kaeng Koh Roi) - คลองลาน
          อยู่ในเส้นทางอุ้มผาง-คลองลาน เข้าทางถนนบ้านโป่งน้ำร้อนเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตร แก่งเกาะร้อยเกิดจากคลองสวนหมากเป็นลำธารสลับด้วยแก่งหิน และหาดทรายขาวสะอาด อยู่ท่ามกลางทิวทัศน์แห่งขุนเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยแก่งหินตะปุ่มตะป่ำนับร้อยพันก้อนเรียงรายเป็นลานกว้าง ช่วงกลางมีลำธารน้ำใสไหลผ่านเกาะแก่งหินสีเทาหม่นดูสวยงามยิ่ง

6

1044scene240109 142139

1210341028

ลำน้ำคลองสวนหมาก (Klong Suan Mak Canal) - คลองลาน
          ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

Klonglarn 5

Klonglarn 22

น้ำตกเพชรจะขอ (Pet Ja Kho Waterfall) - คลองลาน
          เป็นน้ำตกขนาดกลางที่นับว่าสวยงามอีกแห่งหนึ่ง ไหลลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นๆทั้งหมดสี่ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 30 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่สี่ที่สามารถมองเห็นได้จากถนนด้านนอกเขตอุทยานมีความสูงมากกว่า 70 เมตร แต่น้ำตกที่สวยงามไม่ได้อวดความสวยงามได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากฤดูแล้งน้ำจะน้อย การเดินทางจากสามแยกที่เลี้ยวซ้ายไปคลองน้ำไหล ให้ตรงไปตามทางประมาณ 10 กิโลเมตร จะถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ คล.4 (คลองเพชรนิยม) จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีก 1.5 กิโลเมตร
1044scene280109 101709
น้ำตกคลองลาน (Khlong Lan Waterfall) - คลองลาน

          น้ำตกคลองลาน เกิดจากเทือกเขาขุนคลองลาน ซึ่งมียอดสูง 1,439 เมตรจากระดับน้ำทะเล เหนือหน้าผาน้ำตกเป็นที่ราบกว้าง ในฤดูฝนสายน้ำจะไหลจากลำห้วยต่างๆ ประมาณ 5 สาย ลงสู่แอ่งน้ำกลางหุบเขา เกิดเป็นวังน้ำลึกและลำน้ำยาวประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วไหลผ่านหน้าผาลงมาเป็นน้ำตกคลองลาน สูง 100 เมตร กว้างประมาณ 40 เมตร บริเวณใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่งสามารถลงเล่นน้ำได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 500 เมตร

03

9

1044scene240109 140744

ทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วงวงช้าง (Kio Nguang Chang Nature Trail) - คลองลาน
          เส้นทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเดินป่าเขาหัวช้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จะนำท่านไปสู่จุดชมทิวทัศน์กิ่วงวงช้าง มีระยะทางประมาณ 735 เมตร ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ตลอดเส้นทางค่อนข้างลาดชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะ 100 เมตร สู่บริเวณยอดปลายงวงช้าง ก่อนจะลาดลงสู่บริเวณ “กิ่วงวงช้าง” ซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ยามดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในจุดเดียวกัน และยังเป็นจุดชมความสวยงามของน้ำตกคลองลานในอีกมุมมองหนึ่ง ส่วนช่วงที่ 2 เป็นเส้นทางเดินป่าไปยังยอดเขาหัวช้าง มีระยะทางต่อจากช่วงแรกประมาณ 700 เมตร โดยต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง เส้นทางนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว บางระยะเป็นทางเดินขึ้นตามสันเขา เสี่ยงที่จะพลัดตกลงมา จึงห้ามเดินออกนอกเส้นทางโดยเด็ดขาด และหากต้องการขึ้นชมในช่วงเวลาแสงน้อยในตอนเช้ามืดหรือพลบค่ำควรประสานเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเพื่อความปลอดภัย
1418999252 DSCF0030 o

49121615 2060834817329843 3329018993531944960 n

เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกคลองลาน (Nature Trail) - คลองลาน

          เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติน้ำตกคลองลาน อยู่ใกล้กับที่ทำการอุทยาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินชม และสัมผัสกับธรรมชาติได้ในระยะทาง ประมาณ 1 กิโลเมตร ภายในเส้นทางมีฐานให้ความรู้ทั้งหมด 11 ฐาน

1044scene180209 75252
น้ำตกคลองน้ำไหล(น้ำตกปางควาย) (Khlong Nam Lia Waterfall) - คลองลาน

          น้ำตกคลองน้ำไหลหรือน้ำตกปางควาย อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 25 กิโลเมตร จากเส้นทางสายอุ้มผาง-คลองลาน ก่อนถึงอำเภอคลองลาน มีทางแยกด้านขวาเข้าสู่น้ำตก เรียกว่า “ถนนปางควาย” ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ถึงน้ำตกคลองน้ำไหล ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดกลาง สายน้ำไหลลดหลั่นกันลงมา มีทั้งหมด 9 ชั้น แต่ละชั้นมีแอ่งน้ำและความสูงต่างกัน ลานหินที่นี่กว้างมากเป็นสีนิลวาววับเมื่อตัดกับสายน้ำ ลำธารสวยด้วยโขดหิน ในชั้นที่ 3 น้ำตกจะแยกเป็น 2 สาย ดูสวยงามทางฝั่งขวาไหลลงสู่แอ่งน้ำกว้างประมาณ 3 เมตร เหมาะสำหรับการเล่นน้ำตก

Klonglarn 28

klonglarn 12

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ที่พัก - คลองลาน 110 (ชาทอง)
ที่พัก - คลองลาน 115/1-4 (มะเนียงน้ำ)
ที่พัก - คลองลาน 101 (น้ำดัง)
ที่พัก - คลองลาน 107 (จันทร์ผา)
ที่พัก - คลองลาน 105 (อิงดอย)
ที่พัก - คลองลาน 104 (ผาโอบ)
ที่พัก - คลองลาน 103 (ม่านหมอก)
ที่พัก - คลองลาน 102 (ลมโชย)
ที่พัก - คลองลาน 108 (ฟ้ามุ่ย)
ที่พัก - คลองลาน 109 (สีสุก)
ที่พัก - คลองลาน 114/1-4 (เถาวัลย์เปียง)
โทรศัพท์ : 088-4079915
E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำหรับยานพาหนะ : คลิก
**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำดื่ม ขนม) เปิดบริการทุกวันเวลา 08.00 น.- 16.30 น.

สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่
บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC

LineHorizonGif