THAILAND
0763031
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
2228
2110
8709
750174
16747
33059
763031

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-19:44
Visitors Counter

JBGMusic

COOCKO 1


สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ

          สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาห้วยขาแข้ง ท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี หมายเลขระวางแผนที่ 4839 I บริเวณพิกัดละติจูด 15 ลิปดา 48 องศาเหนือ ลองติจูด 99 ลิปดา 29 องศาตะวันออก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา รวบรวม แลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่า
2. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อบริหารความรู้ทางวิขาการให้ประชาชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

ลักษณะภูมิประเทศ

          สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตังอยู่เชิงเขานางรำ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งที่ระดับความสูง 460 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสภาพเป็นภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบริมห้วย ลำห้วยที่สำคัญ เช่น ลำห้วยสองทาง ลำห้วยช้างตาย ลำคลองคล้อ และห้วยเหลือง ภูเขาที่สำคัญ อยู่ทางตะวันออก ได้แก่ เขาเขียว (สูง 1,347 เมตร) เขาสูง (สูง 1,554 เมตร)

ลักษณะภูมิอากาศ

          เป็นภูมิอากาศในแนวเชื่อมต่อระหว่างภูมิอากาศร้อน (Tropical climate) กับภูมิอากาศกึ่งร้อน (Sub-tropical climate) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ

1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส
2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 960 มิลลิเมตร หรือประมาณ 86 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำฝนตลอดปี
3. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธุ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส โดยช่วงที่แห้งแล้งอยู่ในเดือน พฤศจิกายน – เมษายน มักเกิดไฟไหม้ป่าเป็นประจำทุกปี

ชนิดป่าและพรรณไม้

1. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) พบที่ระดับความสูง 1,000 เมตร ขึ้นไป ไม้เด่นที่สำคัญเช่น ก่อ ในสามสกุล คือ Quercus, Castanopsis และ Lithocarpus
2. ป่าดงดิบชื้น (Moist evergreen forest) พบที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ยางนา ยางกล่อง ตะเคียนทอง กระบาก เป็นต้น
3. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) พบที่ระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง สะเดาปัก ยางโอน กัดลิ้น ค้างคาว กระเบากัก เป็นต้น
4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) พบที่ระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร ในพื้นที่แห้งแล้ง หน้าดินตื้น เก็บความชื้นได้ไม่นาน พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

สัตว์ป่า

          เป็นแหล่งรวมของสัตว์ป่าเขตร้อนของทวีปเอเชีย ไม่น้อยกว่า 712 ชนิด คือ

1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีอยู่มากว่า 130 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ถึง 5 ชนิด ที่สำคัญ เช่น ควายป่า เลียงผา สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน เป็นต้น
2. นก มีมากกว่า 360 ชนิด ที่สำคัญ เช่น นกยูง นกเงือกคอแดง พญาแร้ง นกเงือกกรามช้าง นกกก นกหัวขวานใหญ่สีเทา เป็นต้น
3. สัตว์เลื้อยคลานมีอยู่อย่างน้อย 81 ชนิด มี 3 ชนิด ที่ยังไม่เคยมีรายงานพบมาก่อนในประเทศไทย คือ เต่าห้วยดำ ตุ๊กแกทวาย จิ้งเหลนภูเขาอินเดีย ชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ เต่าหก เต่าเดือย กิ้งก่าเขาหนามยาว ตะพาบแก้มแดง เป็นต้น
4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่อย่างน้อย 37 ชนิด เช่น จงโคร่ง กบทูด คางคกแคระ เป็นต้น
5. ปลาน้ำจืด มีอยู่มากกว่า 105 ชนิด เช่น ปลาฉลาด ปลาเค้า ปลาเลียหิน ปละปลาชนิดใหม่ของลุ่มแม่น้ำกลองในสกุล Acantopsis และ Cavasius เป็นต้น

งานวิจัย

1. นิเวศวิทยาของเก้งธรรมดาและเก้งหม้อ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
2. การประเมินควมหนาแน่นของสัตว์กีบและช้างในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
3. การศึกษาอัตราการสลายตัวของมูลเก้งธรรมดาและกวางป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
4. ผลของไฟป่าต่อถิ่นที่อาศัย 4 ประเภท ของสัตว์กินพืชในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
5. การศึกษาอัตราการสลายตัวของมูลสัตว์กีบคู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร
6. นิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร

จุดที่น่าสนใจ

1.จุดชมวิวเขานางรำ อยู่ห่างจากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ 1.5 กิโลเมตร สามารถมองเห็นป่าที่สมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของป่าห้วยขาแข้ง ในช่วงฤดูแล้งจะเห็นความสวยงามของการเปลี่ยนแปลง สีสันของใบไม้ ดอกไม้ ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ บางครั้งใช้เป็นที่สังเกตการณ์เพื่อศึกษาสัตว์บางชนิด

S 3088393
2. เขาเขียว-เขาใหญ่ ความสูง 1,347 และ 1,554 เมตรตามลำดับใช้เวลาเดินทางในป่าจากสำนักงานสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำถึงเขาเขียว-เขาใหญ่ ประมาณ 1-2 วัน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาที่สวยงาม มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม

การเดินทาง

          เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนครสวรรค์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (เอเชีย) ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าจังหวัดอุทัยธานี ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 ถึงจังหวัดอุทัยธานี ระยะทาง 16 กิโลเมตรจากจังหวัดอุทัยธานี เดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 สายอุทัยธานี-ลานสัก เดินทางไปได้ประมาณ 75 กิโลเมตรมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าและผ่านที่ทำการ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถึงที่ทำการสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ระยะทางอีกประมาณ 32 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดอุทัยธานี ถึงสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำประมาณ 107 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ

          สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตู้ ปณ. 2 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160

 

LineHorizonGif