THAILAND
0764949
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
401
3745
10627
750174
18665
33059
764949

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-20:15
Visitors Counter

JBGMusic

Kanjanakuman


          สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่บริเวณเมืองเก่าแห่งนี้ ซึ่งมีสภาพรกร้างและถูกราษฎรบุกรุกทำกิน ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์และแหล่งท่องเที่ยว จึงได้สั่งการให้สำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เข้ามา ดำเนินการจัดตั้งสวนรุกขชาติ โดยให้ซื่อว่า “สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร” ตามชื่อเจ้าเมืองผู้ครองนครในอดีต ซึ่งพื้นที่แห่งนั้นแต่เดิมมีตำนานเล่าว่าในราวปี พ.ศ. 1601 พระเจ้ากาญจนกุมารผู้ครองนครชัยบวร ได้เสด็จทางชลมารคมาพบชัยภูมิ ทำเลเหมาะสมที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ จึงได้สร้างเมืองขึ้นมา ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ และมีพระราชพิธีสมโภชตามลัทธิพราหมณ์ ทรงพระราชทานนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า เมืองพิจิตร และไพร่ฟ้าข้าราชบริพาร พระประยูรวงศานุวงศ์ จึงถวายพระนามพระเจ้ากาญจนกุมาร ใหม่ว่า “พระยาโครตบอง เทวราช” เป็นกษัตริย์ครองเมืองพิจิตรสืบมา ต่อมาสภาพภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไป คือ ลำน้ำน่านได้ เปลี่ยนแปลงทางเดินไปจากเดิม ทำให้ผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่านใหม่ และย้ายเมืองมาอยู่ในเมือง พิจิตรใหม่จวบจนปัจจุบัน และบริเวณเดิมจึงถูกปล่อยร้าง ปรากฏโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดนครชุม เกาะศรีมาลา หลักเมืองและคูเมือง ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรพร้อมกับได้มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง ศาลหลักเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2512 สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตร และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) มาตามลำดับจนถึงในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 สวนรุกขชาติกาญจนกุมารถูกโอนภารกิจตามการแบ่งส่วนราชการใหม่มาอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่12(นครสวรรค์) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของส่วนพัฒนาและเผยแพร่องศ์ความรู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุพืช

วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ในการปฏิบัติงาน

1.เป็นแหล่งปลูกรวบรวมพรรณไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และพืชสมุนไพร

2.พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ทางค้านพฤกษศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมนันทนาการของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจทั่วไป

เป้าหมายการดำเนินงาน

          เป็นแหล่งปลูกรวบรวมพรรณไม้โดยเฉพาะไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และพืชสมุนไพร พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ทางค้านพฤกษศาสตร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวประกอบกิจกรรมนันทนาการของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจทั่วไป

ลักษณะภูมิประเทศ

         เป็นที่ราบ มีคูน้ำด้านทิศตะวันออกและคูน้ำไหลผ่านสวนรุกฃชาติ มีชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมล้อมรอบ

  • สภาพป่า

         ลักษณะพืชพรรณในบริเวณสวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร มีพรรณพืชหลากหลายไม่น้อยกว่า ๒๓๘ ชนิด มี ทั้งพรรณพืชเดิมและเกิดจากการปลูกรวบรวม ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ลัก อินทนิล'นา ประดู่ และข่อย

  • สภาพดิน

       ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งสะสมชองตะกอนตามที่ราบลุ่ม และเป็น แหล่งสะสมชองตะกอนลานตะพักแม่น้ำของแม่น้ำยม

สภาพอากาศ

          ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศค่อนข้างร้อนจัดในฤดูร้อน และเย็นสบายในฤดูหนาว จาก อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มต้น ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธุ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิตํ่าสุด 14.4 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 911.3 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร

Untitled


การเดินทาง

          จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ตามถนนสายเอเชียผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ไปอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และก่อนถึงจังหวัดพิจิตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 6 เลี้ยวขวาถึงสวนรุกขชาติกาญจนกุมาร จังหวัดพิจิตร หรือที่ชาวพิจิตรรู้จักกันในชื่อ “อุทยานเมืองเก่า”

Untitled2


LineHorizonGif