THAILAND
0760728
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
2035
2470
6406
750174
14444
33059
760728

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-18:36
Visitors Counter

JBGMusic

บึงบอระเพ็ด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ยอดเขาโมโกจู
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
น้ำตกคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
เขาหลวง
วนอุทยานเขาหลวง
หุบป่าตาด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน

logo banner head tabsalao huayrabam

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ

 

                ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยทับเสลาและป่าห้วยคอกควาย มีพื้นที่ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลระบำ อำเภอลานสัก โดยได้รับการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,122 (พ.ศ.2528) ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 102 ตอนที่ 137 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2528 โดยมีเหตุผลในการประกาศเพื่อรักษาป่าไม้ของป่า และทรัพยากรธรรมชาติอื่นไว้ มีเนื้อที่ประมาณ 649,500 ไร่ ทั้งนี้พื้นที่ที่จะประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ จำนวน 16,207 ไร่ หรือ 25.93 ตารงกิโมเมตร พื้นที่ส่วนหนึ่งครอบคลุมพื้นที่อ่างเก็บน้ำทับเสลา ท้องที่ ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี มีอาณาเขต ดังนี้

                 1. ทิศเหนือ ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และหมู่บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 10 ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี  

                 2. ทิศใต้ ติดสวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ห้วยระบำ และบ้านโป่งมะค่า หมู่ที่ 7
ตำบลระบำ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

                 3. ทิศตะวันออก ติดขอบลำน้ำห้วยทับเสลา และบ้านบึงเจริญ หมู่ที่ 9 ตำบลระบำ อำเภอ    ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

                 4. ทิศตะวันตก ติดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

maps

4. ลักษณะภูมิประเทศ

             พื้นที่สำรวจเพื่อกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายหรือพื้นที่คุ้มครองอื่นๆ เป็นพื้นที่แนวกันชนที่ติดต่อกับพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งยังคงมีสภาพเป็นป่าสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับพื้นที่เนินเขา มีลักษณะลาดเทจากทิศตะวันตกลงมาทางทิศตะวันออก มีระดับความสูงตั้งแต่ 170-1,390 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนนี้ง่ายต่อการกร่อนของดิน สภาพป่าเป็นป่าผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขาระดับต่ำ ลำห้วยสำคัญได้แก่ ลำห้วยทับเสลา มีความยาวในส่วนที่ติดกับพื้นที่ประมาณ 40 กิโลเมตร   ลำห้วยระบำ มีความยาวในส่วนที่ติดกับพื้นที่ประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งทั้ง 2 ลำห้วย ระบายน้ำลงสู่อ่างเก็บน้ำทับเสลาและลงสู่แม่น้ำสะแกกรัง

5. ลักษณะภูมิอากาศ

         โดยสภาพรวมพื้นที่บริเวณนี้ อยู่ในแนวเชื่อมต่อระหว่างภูมิอากาศในแถบร้อน (Tropical climate) กับภูมิอากาศในแถบกึ่งร้อน (Subtropical climate) จึงแบ่งช่วงฤดูกาลเป็นช่วงใหญ่ๆ 2 ช่วง คือ ฤดูแล้ง ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน รวม 6 เดือน ช่วงฤดูที่มีอากาศหนาว จะมีระยะเวลาที่สั้นมาก ไม่เกินเดือนครึ่ง อยู่ระหว่างเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมเท่านั้น โดยในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ซึ่งในบางปีมักเป็นช่วงที่เริ่มต้นของการเกิดไฟป่า ทำให้มีหมอกควันไฟอยู่ทั่วบริเวณ   ที่เกิดไฟ

6. ลักษณะทางอุทกวิทยา

               แหล่งที่มาของฝนสู่พื้นที่ มีทั้งหมด 3 แหล่ง คือ ฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน (Typhoon) และฝนจากร่องความกดอากาศ (Depression)

             ฝนจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ลักษณะฝนจะไม่รุนแรงนัก แต่จะกระจายเกือบตลอดช่วงฤดูกาล เนื่องจากทิศทางของฝนต้องผ่านทิวเขาสูงและป่าทึบในเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จึงเป็นพื้นที่อับฝน (Rain shadow)

               ฝนจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน (Typhoon) ที่เกิดจากทะเลจีนใต้เป็นฝนที่มีความสำคัญกับพื้นที่เป็นอย่างมาก สามารถทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดในวงกว้าง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง ต้นไม้ใหญ่
หักโค่น ถนนหนทางเสียหายและแผ่นดินสไลด์ตัวได้

               ฝนจากร่องความกดอากาศ (Typhoon) ก่อตัวขึ้นที่อ่าวไทยพัดผ่านกรุงเทพมหานคร ขึ้นเหนือ ทำให้มีฝนตกปริมาณไม่มากนัก

            จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำฝนของหน่วยพิทักษ์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ตั้งอยู่ใกล้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่จะประกาศเป็นเขตห้ามล่าที่จะประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ พบปริมาณน้ำฝนในช่วงปี 2556-2561 เฉลี่ย 1,764.57 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุดอยู่ในช่วงปลายปีและต้นปี และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงตุลาคม

7. ชนิดดินและหิน

           ดินในพื้นที่ค่อนข้างมีความผันแปรมาก ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดในที่สูงชัน อันเป็นผลมาจากการสลายตัวของหินเทอมิเดียท หรือหินกรด (Intermediate or acid rocks) ดินที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ดินเรด-เยลโล โพดโซลิก (Red-Yello Podzolic Soils) เป็นดินที่ค่อนข้างชื้นการก่อชั้นของดินไม่ค่อยสมบูรณ์ และแปรผันตามสังคมพืชคลุมดิน คือดินป่าเต็งรังส่วนใหญ่เป็นดินทรายร่วน ดินทรายร่วนปนทราย ไปจนถึงดินทรายจัด ดินต้นค่อนข้างเป็นกรด (PH 4.3-6.9) มีธาตุอาหารของพืชน้อย ดินในป่าผสมผลัดใบเป็นดินร่วนปนทราย จนถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ดินตื้นและเก็บความชื้นไม่ดี ค่อนข้างเป็นกรดจัด (PH 4.3-6.9) มีธาตุอาหารพื้นน้อย จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าดินในพื้นที่จะประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ ไม่เหมาะที่จะเป็นดินเพื่อการเกษตรกรรม ทั้งนี้เพราะดินโดยทั่วไปมีธาตุอาหารน้อยเก็บความชื้นได้ไม่ดี เมื่อมีการทำลายป่าลงผิวดินจะถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว และแผ่นดินเคลื่อนเกิดขึ้นได้ง่ายจึงควรเก็บไว้เป็นป่าไม้และแหล่งอนุรักษ์สัตว์ป่า

8. ลักษณะชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ

             ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่สำรวจ ประกอบด้วย ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำแม่กลองโดยพื้นที่สำรวจมีลักษณะชั้นคุณภาพลุ่มน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และ 1B เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ ห้ามมีการใช้ประโยชน์อย่างอื่น เนื่องจากมีลักษณะและสมบัติที่อาจมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ง่ายและรุนแรงไม่ว่าพื้นที่จะมีป่าหรือไม่มีป่าปกคลุมก็ตาม

10. ด้านทรัพยากรป่าไม้

              การสำรวจทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่จัดตั้งเป็นเขาห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ พบสังคมพืช 3 ประเภท ได้แก่ สังคมป่าผสมผลัดใบ สังคมป่าเต็งรัง และสังคมป่าดิบแล้ง รายละเอียด แต่ละระบบนิเวศ ดังนี้

              1. สังคมป่าผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ (Mixed deciduous forest) เป็นสังคมพืชที่พบมากที่สุดในพื้นที่ ตั้งแต่ที่ราบเชิงเขาจนถึงยอดเขา เรือนยอดป่าสูง 10-25 เมตร มีไผ่ชนิดต่างๆ การสำรวจพบไม้ยืนต้น ได้แก่ ประดูป่า แดง มะค่าโมง ชิงชัน แคหัวหมู คำหมอกหลวง  คำหมอกน้อย มะกอก พฤกษ์ ขว้าว กระทุ่มเนิน กระบก ขี้อาย ฉนวน กางขี้มอด ตะคร้ำ ราชพฤกษ์ หว้า สวอง ไทร ผ่าเสี้ยน กาสามปีก โมกมัน โมกหลวง ปรู ตะแบกกราย แคหางค่าง เป็นต้น

              2. สังคมป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) โดยทั่วไปจะมีความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าน้อยกว่าป่าผสมผลัดใบ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่าซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคมเนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งทั้งหมดเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี หลังจากไฟผ่านไป พื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ ให้เผลตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางออกไปใช้งาน สัตว์เลี่ยงพวกวัวควาย เข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่างๆ รวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน การสำรวจพบไม้ยืนต้น ได้แก่ เต็ง รัง ยางเหียง ยางพลวง พะยอม ยางกราด รกฟ้า ตะแบกเลือด สมอไทย เป็นต้น

              3. สังคมป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen or Semi Evergreen Forest) ป่าดิบแล้งพบกระจายทั่วไปตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขาที่ชุ่มชื้นจนถึงพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 950 เมตร การสำรวจพบไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง ยมหอม ตะเคียนหิน ตาเสือ กัดลิ้น มะไฟป่า คอแลน เป็นต้น

11. ทรัพยากรสัตว์ป่า

               1. สัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม จากการสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ลิงวอก หมาใน หมาจิ้งจอก หมูป่า หมาไม้ หมูหริ่ง หมีควาย ชะมดแผงหางปล้อง กวาง เสือลายเมฆ เสือดาว เสือโคร่ง เสือดำ ช้างป่า วัวแดง เม่น กระทิง อีเห็นข้างลาย เป็นต้น

               2. สัตว์จำพวกนก จากการสำรวจพบนก เช่น เหยี่ยวรุ้ง เหยี่ยวทุ่ง นกเค้าเหยี่ยว นกเค้ากู่
นกแก๊ก นกหัวขวาน นกอีวายตั๊กแตน นกเด้าดิน นกเด้าลม นกอุ้มบาตร นกกระรางหัวหงอก นกกระรางหัวขวาน นกโพระดกธรรมดา นกตีทอง นกปรอดสวน นกขุนแผน นกโพระดกหน้าผากดำ ไก่ป่า ไก่ฟ้าหลังเทา นกยูง เป็นต้น

               3. สัตว์จำพวกเลื้อยคลาน จากการสำรวจพบสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลนภูเขา-อินเดีย จิ้งเหลนดินจุดดำ จิ้งเหลนห้วยท้องแดง แย้ กิ้งก่าเขาหนามยาว เต่าหก เต่าหกเหลือง ตุ๊กแกบินหาง-หยัก ตะกวด ตะพาบแก้มแดง งูหางมะพร้าว งูจงอาง งูเหลือม เป็นต้น

               4. สัตว์จำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก จากการสำรวจพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เช่น จงโคร่ง กบทูต กบหนอง คางคกแคระ คางคกบ้าน ปาดแคระ อึ่งอ่างบ้าน อึ่งขาคำ เป็นต้น

LineHorizonGif