THAILAND
0772468
วันนี้
เมื่อวานนี้
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ตลอดวันนี้
51
447
1831
754322
26184
33059
772468

ไอพีของคุณ: 192.168.102.1
2024-04-25:44
Visitors Counter

JBGMusic

บึงบอระเพ็ด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
ยอดเขาโมโกจู
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
น้ำตกคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
เขาหลวง
วนอุทยานเขาหลวง
หุบป่าตาด
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
ลำน้ำคลองสวนหมาก
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
×

แจ้งให้ทราบ

Simple Image Gallery Notice: It looks like PHP's 'GD Image Library' is not installed/enabled on your system. Please ask your hosting company to enable/install it.
กรมอุทยานแห่งชาติฯ จัดงานวันเสือโคร่งโลกประจำปี 2566 “Move Forward to Sustainable Tigers Conservation" ที่จังหวัดนครสวรรค์
..............................................................................................................................
วันที่ 5 สิงหาคม 2566 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับจังหวัดนครสวรรค์ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า 11 องค์กร จัดงานวันเสือโคร่งโลก ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิดหลัก “Move Forward to Sustainable Tigers Conservation : ก้าวสู่การอนุรักษ์เสือโคร่งอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวรายงาน นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ให้การต้อนรับ
ภายในงานมีการจัดนิทรรศการด้านการอนุรักษ์เสือโคร่ง ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการอนุรักษ์เสือโคร่งในประเทศไทยที่ผ่านมา ตามนโยบายและแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2565 ) ด้วยการศึกษาวิจัย การฟื้นฟู การจัดการถิ่นอาศัยของเสือโคร่งและประชากรเหยื่อของเสือโคร่ง ตลอดจนเป้าหมายการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565-2577 โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติเพิ่มขึ้น ภายใต้ความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่กลุ่มป่าที่เป็นถิ่นอาศัย ด้วยการยกระดับการจัดการพื้นที่และการติดตามตรวจวัดที่มีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มป่าตะวันตก, กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่, กลุ่มป่าแก่งกระจาน, กลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว และกลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก พร้อมกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อนำประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี พ.ศ. 2577
ทั้งนี้ มีการเสวนาและแสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Move Forward to Sustainable Tigers Conservation : ก้าวสู่การอนุรักษ์เสือโคร่งอย่างยั่งยืน”โดยมี ผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้แทนภาควิชาการจากสถานศึกษา และตัวแทนจากภาคประชาชน
จากการประเมินประชากรเสือโคร่งในธรรมชาติ ในปี 2565 พบเสือโคร่ง จำนวน 148-189 ตัว เพิ่มขึ้นจากสถิติ ปี 2563 ที่สำรวจพบ 130-160 ตัว โดยอาศัยเทคนิคการประเมินเฉพาะทางและการจำแนกลายที่ได้จากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ ซึ่งติดตั้งไว้มากกว่า 1,200 จุด ในพื้นที่อนุรักษ์ 28 แห่ง จากการศึกษาวิจัยนี้ เรายังพบอีกว่า พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด คือ 103-131 ตัว ในส่วนของพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์แห่งนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกตอนเหนือ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ขึ้นไปจนอุทยานแห่งชาติคลองลาน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตาก สามารถบันทึกภาพเสือโคร่งได้ จำนวน 16 - 21 ตัว ไม่เพียงแต่ภาพของเสือโคร่งเท่านั้น หากแต่ยังบันทึกภาพเหยื่อของเสือโคร่ง เช่น กวางป่า หมูป่า เก้ง วัวแดง เป็นต้น สิ่งนี้เป็นดัชนีวัดความสมบูรณ์ของผืนป่าและความเหมาะสมของการเป็นถิ่นอาศัยของเสือโคร่งได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์เสือโคร่ง พ.ศ. 2565 - 2577 โดยตั้งเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองถิ่นอาศัยสำคัญของเสือโคร่ง ได้แก่ ผืนป่าตะวันตก และผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ตลอดจนเร่งฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและเหยื่อในถิ่นอาศัยเป้าหมาย ได้แก่ ผืนป่าแก่งกระจาน ผืนป่าภูเขียว-น้ำหนาว และผืนป่าคลองแสง-เขาสก ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ ภายในปี พ.ศ. 2577 เป้าหมายและความสำเร็จในการอนุรักษ์เสือโคร่งอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงผลงานของภาครัฐเท่านั้น แต่ยังคงมีหน่วยงานจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน องค์กรอิสระต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้คือประชาชนทุกคน ที่คอยสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เสือโคร่ง
{gallery}News/News-2566/5-8-66{/gallery}