024681
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
767
902
5318
13212
4374
20307
24681

Your IP: 192.168.102.1
2024-10-05 19:00
Visitors Counter
โมโกจู
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
น้ำตกคลองลาน
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
น้ำตกเต่าดำ
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
อ่างเก็บน้ำคลองไก่เถื่อน
วนอุทยานห้วยคต
เขาหลวง
วนอุทยานเขาหลวง
ถ้ำประกายเพชร
วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง
เขาหน่อ
วนอุทยานเขาหน่อ-เขาแก้ว
อนุสาวรีย์สืบ นาคะเสถียร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ข้อมูลทั่วไป

   ในอดีตพื้นที่ป่าแห่งนี้ มีพันธุ์ไม้ยางนาทีขึ้นตามธรรมชาติ ปกคลุมพื้นที่อยู่อย่างหนาแน่น นับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์มากของจังหวัดพิจิตร ซึ่งในขณะนั้นมีราษฎรกลุ่มหนึ่งได้จับจอง โดยใช้สิทธิครอบครองพื้นที่ป่าแห่งนี้เพื่อประโยชน์ในการเจาะน้ำยาง การเจาะน้ำมันยางดังกล่าวกระทำเพื่อการใช้สอยในครัวเรือน สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี ต่อมามีราษฎรต่างถิ่นและใกล้เคียงบางกลุ่ม เข้ามาลักลอบตัดไม้ยางนาเพื่อประโยชน์ใช้สอยและเพื่อการค้า ต่อมาลักลอบตัดไม้รุนแรงมากขึ้น เพื่อต้องการอนุรักษ์ไม้ยางนาขนาดใหญ่ไว้ทำให้กลุ่มราษฎรจึงร้องขอให้ทางราชการ โดยกรมป่าไม้เข้ามาควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

     ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 พื้นที่ป่าแห่งนี้ก็ได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 155 ให้ชื่อว่า “ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองดง” และวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2532 กรมป่าไม้ได้อนุมัติประกาศจัดตั้งวนอุทยานขึ้นมาครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองดงและให้ชื่อว่า “วนอุทยานนครไชยบวร” ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่นครไชยบวร อันเป็นชื่อเมืองเก่าของอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2532 กรมป่าไม้ได้จัดตั้งเป็นวนอุทยาน

     และในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองดง ในท้องที่ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตรให้เป็นวนอุทยาน เนื้อที่ 1,142 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 301 ง วันที่ 24 ธันวาคม 2563

ขนาดพื้นที่

   1,142 ไร่ 

ลักษณะภูมิประเทศ

      เป็นพื้นที่ราบถึงที่ราบลุ่ม ปกคลุมด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด มีไม้เด่น คือ ไม้ยางนาธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ภายในพื้นที่ประกอบด้วยหนองน้ำและลำห้วยหลายสายกระจายทั่วพื้นที่ หนองน้ำสำคัญ ได้แก่ หนองมาบคล้า และหนองสะตือ

ลักษณะภูมิอากาศ

         อยู่ในเขตอุณหภูมิภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะอากาศร้อน และมีฝนตกชุก

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า 

          เป็นป่าไม้ยางนาธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ไม้ยางมีขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ย 200-300 เซนติเมตร อยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นกลุ่มทั่วพื้นที่ ไม้พื้นล่างเป็นไม้ไผ่ชนิดต่างๆ โดยสามารถจำแนกสังคมพืชได้เป็น 3 ประเภท คือ

          1. ป่าที่ครอบคลุมด้วยพันธุ์ไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) จัดเป็นประเภทป่าที่มีลักษณะเฉพาะปกคลุม ไม้ยางขนาดใหญ่และพันธุ์พืชชนิดอื่นขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ต่อมามีการลักลอบตัดไม้และทำลายป่ารุนแรงขึ้น ทำให้สภาพป่าโปร่งขึ้น แสงแดดส่องได้ถึงพื้นล่างมากขึ้น มีผลทำให้ความชื้นของบรรยากาศในป่าและความชื้นของดินลดน้อยลงเมื่อถึงในหน้าแล้ง ทำให้หนองน้ำและในห้วยซึ่งในอดีตไม่เคยแห้งต้องเดือดแห้งลงทุกขณะ ทำให้สภาพพื้นที่แปรเปลี่ยนเป็นเช่นปัจจุบัน พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบ ได้แก่ ไม้ยางนา เป็นไม้ขนาดใหญ่ จากการสำรวจพบไม้ยางนาขนาดเส้นรอ ตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ขึ้นไปมีจำนวนมากกว่า 1,200 ต้น และยังพบลูกไม้ยางนาที่มีความสูงไม่เกิน 1 เมตร อีกเป็นจำนวนมาก ขึ้นอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ป่า นอกจากนั้นในป่าประเภทนี้ยังพบพันธุ์ไม้อื่นๆ ขึ้นปะปนกับไม้ยางนา ได้แก่ ไม้ตะแบก ทองกวาว คูณ เสี้ยว จามจุรี รัก กร่าง หว้า มะเกลือ คาง หวาย เป็นต้น

          2. ป่าละเมาะหรือป่าต่ำ เป็นป่าที่เกิดจากไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ถูกตัดฟันจนบางเบาหรือไม่มีเหลืออยู่เลย จึงมีเพียงไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นมาทดแทน และเนื่องจากไม่มีไม้ขนาดใหญ่ให้ร่วมเงา แสงแดดจึงส่องได้ถึงพื้นดิน ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้นและขาดความสมบูรณ์พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่บางชนิดจึงมีลักษณะแคระแกรน ลำต้นและเรือนยอดมีขนาดเล็ก ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ตะแบก มะเดื่อ ยอป่า ตะโก มะเกลือ งิ้วป่า สะแกนา มะกอก เป็นต้น อนึ่งสภาพป่าประเภทนี้ (ป่าละเมาะหรือป่าต่ำ) จัดเป็นแหล่งอาศัยทำรัง หลับนอนและหากินของนกหลายๆ ชนิด เช่น นกแขวก นกตบยุง นกเขาใหญ่ เป็นต้น

          3. ป่าไผ่ ป่าประเภทนี้ พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ จัดเป็นป่าขนาดต่ำ มีพันธุ์ไม้ไผ่ป่า (Bambusa arundinacea) ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ป่าประเภทนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของไก่ป่าและนกหลายชนิด ที่ใช้บริเวณพื้นที่สำหรับหากินทำรังวางไข่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพบป่าชนิดนี้บริเวณลำห้วย

          สัตว์ป่า ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่สำคัญ และน่าสนใจโดยแยกเป็น 5 ประเภท คือ

                  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า พังพอน นิ่มหรือลิ้น กระแต กระจ้อน เป็นต้น

                  สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่า งูชนิดต่างๆ ตะกวด เหี้ย เป็นต้น

                  สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบ เขียด ปาด เป็นต้น

                  ปลา ได้แก่ ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุก เป็นต้น และสัตว์ที่พบมากในพื้นที่ คือ ไก่ป่า (Red jungle Fowl)

                  สัตว์ปีก โดยในเขตวนอุทยานฯ พบนกชนิดต่างๆ อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่มากมายหลายชนิด สามารถเป็น 2 ประเภท คือ “นกประจำถิ่น” ได้แก่ นกแขกเต้า นกตะขาบทุ่ง นกแขวก นกยางบางชนิด นกกระจิบ นกกระจอก และนกปรอด เป็นต้น และ “นกอพยพ” โดยเฉพาะในฤดูหนาว จะพบนกชนิดต่างๆ อพยพเข้ามาหากินมากมาย เช่น นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกนางแอ่นบางชนิด นกเป็ดน้ำ นกเหยี่ยวบางชนิด เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

     1. ป่ายางนาธรรมชาติ สภาพป่าเป็นป่าธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่มีไม้ยางนาขึ้นอยู่มาก จึงเป็นแหล่งเก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ยางที่สำคัญ และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติที่ดีมากอีกแห่งหนึ่ง

สถานที่ติดต่อ : ตั้งอยู่ที่ 65/1 หมู่ 2 ตำบลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

พิกัดที่ทำการฯ : 15.96935793 , 100.2257646

หัวหน้าวนอุทยาน : นายธิติพล ดวงแก้ว

ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน

โทรศัพท์ : 081-532-8773

อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 

การเดินทาง

      รถยนต์ จากจังหวัดพิจิตรเดินทางโดยรถยนต์โดยสารประจำทางถึงอำเภอโพทะเล ระยะทาง 63 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินลาดยางโดยตลอด และจากอำเภอโพทะเลถึงวนอุทยานนครไชยบวรเป็นเส้นทาง ร.พ.ช. (ถนนลูกรัง) ระยะทาง 18 กิโลเมตร รวมระยะทั้งหมด 81กิโลเมตร หรือเดินทางจากนครสวรรค์ โดยเส้นทางหลวงสาย นครสวรรค์-พิษณุโลก ระยะทาง 33 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทาง ร.พ.ช.สายบ้านหนองกรด-บ้านยางเพนียด-บ้านท่าเสา อีก 15 กิโลเมตร รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร