บ้านป่าคาหรือบ้านผู้ใหญ่ยี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่บรรพชนชาวม้งได้พาลูกหลานมาตั้งรกราก โดยชื่อหมู่บ้านเดิมนี้เป็นชื่อของผู้นำชาวม้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านตามใบแต่งตั้ง (สน.๑๓) เลขที่ ๑๐/๒๔๘๓ หมายตราตั้งลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยหลวงปริวรรต วรวิจิตร ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เมื่ออดีตเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหา เป็นหมู่บ้านที่มีเส้นทางเข้า-ออกทางเดียว ทำให้การเข้าถึงด้านการศึกษาหรือการประกอบอาชีพมีทางเลือกน้อย การขนส่งหรือการนำพืชผลทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังตลาดเพื่อให้มีรายได้เป็น ไปได้ยากลำบากขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการหมุนเวียนใช้พื้นที่ ประมาณ 3-4 ปี ก็จะกลับมาทำในพื้นที่เดิมอีกครั้ง เมื่อมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการบุกรุกถากถางพื้นที่ทำการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของราษฎรชาวเขา และในพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอยู่ ถึง 5 เผ่าได้แก่ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง มูเซอ และลีซอ เมื่อความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาทางแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ โดย วันที่ 31 ตุลาคม 2551 ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชีนีนาถ ได้มีหนังสือถึงกองทัพภาค 3 ความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้โดยมุ่งส่งเสริมด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ให้กับราษฎรชาวไทยภูเขาและหมู่บ้านบริวาร” สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ณ บ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้มีโอกาสเข้าถึงวิธีการในการทำการเกษตรแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และได้เข้าถึงวิทยาการด้านการเพาะปลูกที่ไม่ต้องเปิดพื้นที่ใหม่สามารถให้ผลผลิตสูงและตรงตามความต้องการของตลาด ให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความสุข และเกื้อกูลกันอย่างแท้จริง จากบูรณาการความร่วมมือทั้งจากหน่วย ราชการ และราษฎร ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ราษฎรได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ภูมิประเทศเป็นภูเขาซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร เป็นปุาดงดิบผสมปุาเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำของลำธารและคลองหลายสาย เช่น คลองวังเจ้า คลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทรแล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่จัดตั้งสถานี 1,340 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 16,208 ไร่ อยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นที่ลุ่มน้ำชั้นดี (1A) ปัญหาสำคัญของพื้นที่บ้านป่าคา คือ เกษตรกรเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้ปีละครั้ง ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับแนวทางดังกล่าว ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จะใช้แนวทางการผลิตแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน โดยมีเงื่อนไขความรู้ และคุณธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เกษตรกรเข้าใจในหลักการปลูกพืชต่างๆแบบยั่งยืนและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้เข้าไปให้องค์ความรู้ในเรื่องของการปลูก การดูแลรักษาต่างๆ การจัดการภายในสวนกาแฟ การเก็บเกี่ยว วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูป ตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรสู่แปลงเกษตรกรในพื้นที่ โดยการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งยังได้จัดทำแปลงเรียนรู้ภายในพื้นที่โครงการ และแปลงขยายผลในพื้นที่ราษฎร เน้นให้ความสำคัญในการปลูกกาแฟอาราบิก้า ซึ่งเป็นพืชสามารถปลูกเป็นพืชแซมป่าโดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนพืชผักต่างๆเพื่อให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน