ประวัติความเป็นมา
สวนรุกขชาติไพศาลี จัดตั้งขึ้นเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2540 ตามนโยบายของกรมป่าไม้ทีประสงค์จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติขึ้นในภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสการสถาปนากรมป่าไม้ ครบรอบ 100 ปี (เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2539) โดยใช้ชื่อว่า สวนรุกขชาติ 100 ปีกรมป่าไม้ (ซับสมบูรณ์) เมื่อปี พ.ศ.2545 โอนย้ายไปสังกัดกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช พ.ศ.2548 ได้โอนย้ายไปสังกัดสำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2558 ได้เปลี่ยนชื่อจากสวนรุกฃชาติ 100 ปี กรมป่าไม้(ซับสมบูรณ์) มาใช้ชื่อ “สวนรุกขชาติไพศาลี”
ที่ตั้งและอาณาเขต
สวนรุกขชาติไพศาลี มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณลุ่มนํ้าตก ซับสมบูรณ์ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาคอก ป่าเขาโลมนาง และป่าเขาสอยดาว ที่ทำการตั้งอยู่ ที่หมู่ 6 บ้านซับสมบูรณ์ ตำบลวังข่อย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 1,465 ไร่ หรือ 2.34 ตารางกิโลเมตร
- ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับ ตำบลวังพิกุล อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
- ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับ ตำบลภูนํ้าหยด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
- ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับ ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
- ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับ ตำบลตะคล้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงชัน มีความสลับซับซ้อนพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชัน (Slope) เกินกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีความลาดเอียง (Aspect) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตสวนรุกขชาติฯ มีความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-495 เมตร มียอดเขาสูงสุดในพื้นที่ สูงประมาณ 495 และพื้นที่ต่ําสุดอยู่บริเวณที่ตั้ง ที่ทําการสวนรุกขชาติฯ มีความสูงประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ําทะเล
ทรัพยากรป่าไม้
ชนิดป่าและพันธุ์พืชที่พบในเขตสวนรุกขชาติไพศาลี จัดได้ว่าเป็น ตัวแทนของชนิดป่าที่พบในเขตพื้นที่ป่าของอําเภอไพศาลี สามารถจําแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1.ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าโปร่งผสม ผลัดใบ มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดขึ้นปะปนอยู่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นอยู่ในป่า ประเภทนี้ได้แก่ ประดู่ป่า มะค่าโมง เก็ดแดง ชิงชัน แสมสาร กระพี้เขาควาย งิ้วป่า มะกอก มะกัก พฤกษ์ แดง อะราง โมกมัน ตะแบก เสลา ยมหิน สวอง ตีนเป็ด ตะคร้ํา คูน มะเกลือ มะเดื่อ สะแกแสง ขะเจ๊าะ กระพี้จั่น สําโรง อุโลก
2.ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) เป็นป่าผลัดใบ ที่มีไม้ เต็ง ไม้รัง เป็นไม้เด่น พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มีลักษณะแคระแกรน ชนิดพันธุ์ไม้ ที่พบขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้ ได้แก่ เต็งรัง ประดู่ เหียง พะยอม มะม่วงหัว แมงวัน กระบก ติ้ว แต้ว ผักหวาน ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป็นต้น
3.ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าประเภทไม่ผลัด ใบ พันธุ์ไม้มีหลายชั้นเรือนยอดขึ้นปะปนกันอยู่ มองดูเขียวตลอดปี พันธุ์ ไม้เด่นในพื้นที่ ได้แก่ ยางนา และตะเคียนหิน
4.ป่าทุ่งหญ้า (Savanna Forest) เป็นพื้นที่ที่เคยถูกบุกรุกทําลายมาก่อนจนสภาพป่าเปลี่ยนแปลงไป เกิดวัชพืชจําพวกหญ้าขจรจบและหญ้าคาขึ้นมาทดแทนปกคลุมพื้นที่อย่างหนาแน่น พันธุ์พืช เดิมที่พบขึ้นปะปนอยู่ในป่าทุ่งหญ้า ได้แก่ โมกมัน สวอง อะราง มะขามป้อม แคทราย เสี้ยวป่า กําจัดต้น ตะคร้ํา สําโรง อุโลก ปอ กระสา มะเกลือ บุก เป็นต้น
ทรัพยากรสัตว์ป่า
ในเขตสวนรุกขชาติฯ และพื้นที่ป่าเทือกเขาสอยดาว มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่สามารถจําแนกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จํานวน 23 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ สําคัญ ได้แก่ หมาจิ้งจอก แมวดาว นางอาย ชะมดเช็ด อีเห็นธรรมดา เม่นใหญ่แผงคอยาว นิ่ม ลิงแสม กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระแต กระเล็น กระจ้อน เป็นต้น
2. สัตว์เลื้อยคลาน จํานวน 26 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่สําคัญ ได้แก่ ตะกวด แย้ กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ
3.สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก มีจํานวน 15 ชนิด สัตว์สะเทินน้ํา สะเทินบกที่สําคัญ ได้แก่ ปูน้ําตก เต่าเหลือง เขียดเหลือง เป็นต้น
4.สัตว์ปีกที่สําคัญ ได้แก่ ไก่ป่า และนก จํานวน 99 ชนิด
5. แมลงที่สําคัญ ได้แก่ จักจั่นงวงช้าง ด้วงขี้ช้าง ด้วง ทางมะพร้าว และผีเสื้อชนิดต่างๆ
แหล่งท่องเที่ยว
-น้ำตกซับสมบูรณ์
-จุดชมวิวเดิ่นพะยอม
-จุดชมวิวผาแดง
-จุดชมวิวผากระโดน
-ทางเดินศึกษาธรรมชาติดงผักหวาน
-สวนรวมพรรณไม้
ติดต่อสอบถามข้อมูล
-สวนรุกขชาติไพศาลี หมู่ 6 ตําบลวังข่อย อําเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 60220 เบอร์โทรศัพท์ 086-6239065
-กลุ่มงานวิชาการ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 ถนนโกสีย์ใต้ ตําบลปากน้ําโพ อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000 เบอร์โทรศัพท์ 056-221140 ต่อ 118
-ส่วนพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช