"ผู้พิทักษ์ป่าไทย" ผู้ปกป้องและรักษาสมบัติของชาติ โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย และองค์การกองทุนสัตว์ป่าสากล (WWF) #ผู้พิทักษ์ป่าไทย


Cerdit : Seub Nakhasathien Foundation เผยแพร่เมื่อ 2 พ.ค. 2019 ผู้หญิงกับงานพิทักษ์ป่า - คุณผึ้ง ศิริวรรณ พรมศักดิ์ . ร่วมหาความหมายในการหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหญิง ที่มีความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าเป็นเดิมพัน
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ผู้ที่ยอมสละชีวิตเพื่อปกป้องธรรมชาติ
Credit : FEED เผยแพร่เมื่อ 21 ก.พ. 2019 ยอมเสียสละเพื่อส่วนร่วม #เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ปฏิบัติการปกป้องธรรมชาติและผืนป่าให้ยังคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์
พญาแร้ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เคยมีพญาแร้งโบยบินอยู่ แต่นายพรานได้วางยาฆ่าแมลงในซากสัตว์ป่าเพื่อล่อเสือโคร่ง แต่พญาแร้งพบซากซะก่อนจึงโฉบลงไปกิน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พญาแร้งห้วยขาแข้งตายหมดยกฝูง และนั่นถือเป็นการสูญเสียในด้านสัตว์ป่าครั้งใหญ่ที่สุดในป่าห้วยขาแข้ง ผ่านมาเกือบ 30 ปี ผลพวงจากการวางยาฆ่าแมลง เพื่อล่าสัตว์ป่าครั้งนั้น ทำให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไม่มีพญาแร้ง มาคอยเก็บกวาดและกินซากสัตว์ป่าอีกเลย จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สถานการณ์ของพญาแร้งห้วยขาแข้ง ยิ่งน่าเป็นห่วง เมื่อประเทศไทยเหลือพญาแร้งอยู่เพียง 7 ตัวเท่านั้น ซึ่ง 2 ใน 7 ตัว อยู่ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ส่วนอีก 5 ตัวอยู่ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ทางองค์การสวนสัตว์ พยายามจับคู่ผสมพันธุ์พญาแร้งในกรงเลี้ยง แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนพญาแร้งสองตัวที่อยู่ในความดูแลของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตัวผู้มีอายุกว่า 20 ปี ขณะที่ตัวเมีย อายุประมาณ 10 ปี ซึ่งทางสถานีฯ หวังให้ทั้งสองตัวจับคู่ทำรังวางไข่ ที่ผ่านมาสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพันธะกิจร่วมกันหลายด้าน โดยเฉพาะการปล่อยสัตว์ป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ขณะที่การบริหารจัดการด้านสัตว์ป่า ก็เป็นอีกพันธะกิจหนึ่งที่หลายภาคส่วนทำงานร่วมกันในพื้นที่ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ด้วยความสำคัญของพญาแร้งต่อผืนป่าห้วยขาแข้ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านสัตว์ป่า โดยตั้งเป้าฟื้นฟูประชากรพญาแร้ง ให้กลับมาโบยบินในป่าห้วยขาแข้งอีกครั้ง