ประวัติความเป็นมา
สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่บริเวณเมืองเก่าแห่งนี้ ซึ่งมีสภาพรกร้างและถูกราษฎรบุกรุกทำกิน ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์และแหล่งท่องเที่ยว จึงได้สั่งการให้สำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เข้ามา ดำเนินการจัดตั้งสวนรุกฃชาติ โดยให้ซื่อว่า “สวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร” ตามชื่อเจ้าเมืองผู้ครองนครในอดีต ซึ่งพื้นที่แห่งนั้นแต่เดิมมีตำนานเล่าว่าในราวปี พ.ศ. 1601 พระเจ้ากาญจนกุมารผู้ครองนครชัยบวร ได้เสด็จทาง ชลมารคมาพบชัยภูมิ ทำเลเหมาะสมที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ จึงได้สร้างเมืองขึ้นมา ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ และมีพระราชพิธีสมโภชตามลัทธิพราหมณ์ ทรงพระราชทานนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า เมืองพิจิตร และไพร่ฟ้าข้าราชบริพาร พระประยูรวงศานุวงศ์ จึงถวายพระนามพระเจ้ากาญจนกุมาร ใหม่ว่า “พระยาโครตบอง เทวราช” เป็นกษัตริย์ครองเมืองพิจิตรสืบมา ต่อมาสภาพภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไป คือ ลำน้ำน่านได้ เปลี่ยนแปลงทางเดินไปจากเดิม ทำให้ผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่านใหม่ และย้ายเมืองมาอยู่ในเมือง พิจิตรใหม่จวบจนปัจจุบัน และบริเวณเดิมจึงถูกปล่อยร้าง ปรากฏโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดนครชุม เกาะศรีมาลา หลักเมืองและคูเมือง ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรพร้อมกับได้มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง ศาลหลักเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2512 สวนรุกข'ชาติกาญ จนกุมาร อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตร และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) มาตามลำดับ จนถึงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สวนรุกฃชาติกาญจนกุมารถูกโอนภารกิจตามการแบ่งส่วน ราชการใหม่มาอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์)ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของส่วนพัฒนาและเผยแพร่องศ์ความรู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุพืช
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบ มีคูน้ำด้านทิศตะวันออกและคูน้ำไหลผ่านสวนรุกฃชาติ มีชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมล้อมรอบ
สภาพป่า
ลักษณะพืชพรรณในบริเวณสวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร มีพรรณพืชหลากหลายไม่น้อยกว่า ๒๓๘ ชนิด มี ทั้งพรรณพืชเดิมและเกิดจากการปลูกรวบรวม ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ลัก อินทนิล'นา ประดู่ และข่อย
สภาพดิน
ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งสะสมชองตะกอนตามที่ราบลุ่ม และเป็น แหล่งสะสมชองตะกอนลานตะพักแม่น้ำของแม่น้ำยม
สภาพอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศค่อนข้างร้อนจัดในฤดูร้อน และเย็นสบายในฤดูหนาว จาก อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มต้น ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธุ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิตํ่าสุด 14.4 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 911.3 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร
อาณาเขตพื้นที่ แผนผังสวนรุกฃชาติ และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของขุมซนโดยรอบ
สวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโรงช้าง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มีเนื้อที่ 300-1-00 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองพิจิตรตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณ 7 กิโลเมตร
แหล่งเรียนรู้ที่่น่าสนใจ
สวนรุกขชาติกาญจนกุมารเป็นแหล่งปลูกรวบรวมพันธุไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และพืชสมุนไพร ไม่น้อย กว่า 238 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการในบริเวณพื้นที่สวนรุกขชาติฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
ศาลหลักเมือง เป็นศาลทรงไทยรูปจัตุรมุข หินอ่อน ขนาดกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีกำแพงแก้ว รอบนอก ภายในเป็นที่ตั้งของหลักเมืองพิจิตร ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ยอดเสาทำด้วยไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระพรหมสี่หน้า ฐานเป็นไม้ลักแกะสลักเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย ศาลหลักเมืองเป็นที่เคารพลักการะของประซาซน ทั่วไปในจังหวัดพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง
วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยพระธาตุเจคีย์ทรงลังกา ภายในมืพระเครื่องหลายซนิด ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดด้นไป ด้านหน้าพระเจคีย์เป็นที่ตั้งพระวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจคีย์เป็นพระอุโบสถ์มีใบเสมา 2 ขั้น กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดิน ส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุค คือ สมัย สุโขทัย และสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบมีแนวกำแพงขนาดใหญ่และเจคีย์อยู่เป็นจำนวนมาก
สถานศึกษาในจังหวัดพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียงมีการขอใช้สถานที่สวนรุกชชาติกาญจนกุมารเพื่อจัด กิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี