205634
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
133
765
1634
199775
898
18649
205634

Your IP: 192.168.102.1
2025-07-02 06:47
Visitors Counter


ประวัติความเป็นมา

      สวนรุกขชาติไพศาลี จัดตั้งขึ้นเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2540 ตามนโยบายของกรมป่าไม้ทีประสงค์จัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์และสวนรุกขชาติขึ้นในภูมิภาคของประเทศ เพื่อเป็นทีระลึกเนื่องในโอกาสการสถาปนากรมป่าไม้ ครบรอบ 100 ปี (เมื่อวันที18 กันยายน พ.ศ.2539) โดยใช้ชื่อว่า สวนรุกขชาติ 100 ปีกรมป่าไม้ (ซับสมบูรณ์) เมื่อปี พ.ศ.2545 โอนย้ายไปสังกัดกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช พ.ศ.2548 ได้โอนย้ายไปสังกัดสำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2558 ได้เปลี่ยนชื่อจากสวนรุกฃชาติ 100 ปี กรมป่าไม้(ซับสมบูรณ์) มาใช้ชื่อ “สวนรุกขชาติไพศาลี”

ที่ตั้งและอาณาเขต

        สวนรุกขชาติไพศาลี มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บริเวณลุ่มนํ้าตก ซับสมบูรณ์ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาคอก ป่าเขาโลมนาง และป่าเขาสอยดาว ที่ทำการตั้งอยู่ ที่หมู่ 6 บ้านซับสมบูรณ์ ตำบลวังข่อย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 1,465 ไร่ หรือ 2.34 ตารางกิโลเมตร

 

  • ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับ ตำบลวังพิกุล อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับ ตำบลภูนํ้าหยด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
  • ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับ ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์
  • ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับ ตำบลตะคล้อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

        สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นเทือกเขาสูงชัน มีความสลับซับซ้อนพื้นที่ส่วนใหญ่มีความลาดชัน (Slope) เกินกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีความลาดเอียง (Aspect) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตสวนรุกขชาติฯ มีความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-495 เมตร มียอดเขาสูงสุดในพื้นที่ สูงประมาณ 495 และพื้นที่ต่ําสุดอยู่บริเวณที่ตั้ง ที่ทําการสวนรุกขชาติฯ มีความสูงประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ําทะเล

 

ทรัพยากรป่าไม้

ชนิดป่าและพันธุ์พืชที่พบในเขตสวนรุกขชาติไพศาลี จัดได้ว่าเป็น ตัวแทนของชนิดป่าที่พบในเขตพื้นที่ป่าของอําเภอไพศาลี สามารถจําแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าโปร่งผสม ผลัดใบ มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดขึ้นปะปนอยู่ ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นอยู่ในป่า ประเภทนี้ได้แก่ ประดู่ป่า มะค่าโมง เก็ดแดง ชิงชัน แสมสาร กระพี้เขาควาย งิ้วป่า มะกอก มะกัก พฤกษ์ แดง อะราง โมกมัน ตะแบก เสลา ยมหิน สวอง ตีนเป็ด ตะคร้ํา คูน มะเกลือ มะเดื่อ สะแกแสง ขะเจ๊าะ กระพี้จั่น สําโรง อุโลก

2.ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) เป็นป่าผลัดใบ ที่มีไม้ เต็ง ไม้รัง เป็นไม้เด่น พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มีลักษณะแคระแกรน ชนิดพันธุ์ไม้ ที่พบขึ้นอยู่ในป่าประเภทนี้ ได้แก่ เต็งรัง ประดู่ เหียง พะยอม มะม่วงหัว แมงวัน กระบก ติ้ว แต้ว ผักหวาน ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป็นต้น

3.ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) เป็นป่าประเภทไม่ผลัด ใบ พันธุ์ไม้มีหลายชั้นเรือนยอดขึ้นปะปนกันอยู่ มองดูเขียวตลอดปี พันธุ์ ไม้เด่นในพื้นที่ ได้แก่ ยางนา และตะเคียนหิน

4.ป่าทุ่งหญ้า (Savanna Forest) เป็นพื้นที่ที่เคยถูกบุกรุกทําลายมาก่อนจนสภาพป่าเปลี่ยนแปลงไป เกิดวัชพืชจําพวกหญ้าขจรจบและหญ้าคาขึ้นมาทดแทนปกคลุมพื้นที่อย่างหนาแน่น พันธุ์พืช เดิมที่พบขึ้นปะปนอยู่ในป่าทุ่งหญ้า ได้แก่ โมกมัน สวอง อะราง มะขามป้อม แคทราย เสี้ยวป่า กําจัดต้น ตะคร้ํา สําโรง อุโลก ปอ กระสา มะเกลือ บุก เป็นต้น


ทรัพยากรสัตว์ป่า

ในเขตสวนรุกขชาติฯ และพื้นที่ป่าเทือกเขาสอยดาว มีสัตว์ป่าหลายชนิด อาศัยอยู่สามารถจําแนกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จํานวน 23 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ สําคัญ ได้แก่ หมาจิ้งจอก แมวดาว นางอาย ชะมดเช็ด อีเห็นธรรมดา เม่นใหญ่แผงคอยาว นิ่ม ลิงแสม กระต่ายป่า กระรอกหลากสี กระแต กระเล็น กระจ้อน เป็นต้น

 

2. สัตว์เลื้อยคลาน จํานวน 26 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่สําคัญ ได้แก่ ตะกวด แย้ กิ้งก่า งูชนิดต่างๆ

 

3.สัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก มีจํานวน 15 ชนิด สัตว์สะเทินน้ํา สะเทินบกที่สําคัญ ได้แก่ ปูน้ําตก เต่าเหลือง เขียดเหลือง เป็นต้น

 

4.สัตว์ปีกที่สําคัญ ได้แก่ ไก่ป่า และนก จํานวน 99 ชนิด

 

5. แมลงที่สําคัญ ได้แก่ จักจั่นงวงช้าง ด้วงขี้ช้าง ด้วง ทางมะพร้าว และผีเสื้อชนิดต่างๆ

 

แหล่งท่องเที่ยว

-น้ำตกซับสมบูรณ์

-จุดชมวิวเดิ่นพะยอม

-จุดชมวิวผาแดง

-จุดชมวิวผากระโดน

-ทางเดินศึกษาธรรมชาติดงผักหวาน

-สวนรวมพรรณไม้

ติดต่อสอบถามข้อมูล

-สวนรุกขชาติไพศาลี หมู่ 6 ตําบลวังข่อย อําเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ 60220 เบอร์โทรศัพท์ 086-6239065

-กลุ่มงานวิชาการ สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 ถนนโกสีย์ใต้ ตําบลปากน้ําโพ อําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000 เบอร์โทรศัพท์ 056-221140 ต่อ 118

-ส่วนพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


ประวัติความเป็นมา

    สวนรุกขชาติกาญจนกุมาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ในขณะนั้น ที่ต้องการปรับปรุงพื้นที่บริเวณเมืองเก่าแห่งนี้ ซึ่งมีสภาพรกร้างและถูกราษฎรบุกรุกทำกิน ให้เป็นที่สาธารณประโยชน์และแหล่งท่องเที่ยว จึงได้สั่งการให้สำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตรในขณะนั้น เข้ามา ดำเนินการจัดตั้งสวนรุกฃชาติ โดยให้ซื่อว่า “สวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร” ตามชื่อเจ้าเมืองผู้ครองนครในอดีต ซึ่งพื้นที่แห่งนั้นแต่เดิมมีตำนานเล่าว่าในราวปี พ.ศ. 1601 พระเจ้ากาญจนกุมารผู้ครองนครชัยบวร ได้เสด็จทาง ชลมารคมาพบชัยภูมิ ทำเลเหมาะสมที่จะสร้างเมืองขึ้นใหม่ จึงได้สร้างเมืองขึ้นมา ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ และมีพระราชพิธีสมโภชตามลัทธิพราหมณ์ ทรงพระราชทานนามเมืองใหม่แห่งนี้ว่า เมืองพิจิตร และไพร่ฟ้าข้าราชบริพาร พระประยูรวงศานุวงศ์ จึงถวายพระนามพระเจ้ากาญจนกุมาร ใหม่ว่า “พระยาโครตบอง เทวราช” เป็นกษัตริย์ครองเมืองพิจิตรสืบมา ต่อมาสภาพภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไป คือ ลำน้ำน่านได้ เปลี่ยนแปลงทางเดินไปจากเดิม ทำให้ผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่านใหม่ และย้ายเมืองมาอยู่ในเมือง พิจิตรใหม่จวบจนปัจจุบัน และบริเวณเดิมจึงถูกปล่อยร้าง ปรากฏโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดนครชุม เกาะศรีมาลา หลักเมืองและคูเมือง ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรพร้อมกับได้มีการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง ศาลหลักเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2512 สวนรุกข'ชาติกาญ จนกุมาร อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานป่าไม้จังหวัดพิจิตร และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 11 (พิษณุโลก) มาตามลำดับ จนถึงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สวนรุกฃชาติกาญจนกุมารถูกโอนภารกิจตามการแบ่งส่วน ราชการใหม่มาอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์)ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548 เป็นต้นมา ปัจจุบันอยู่ในการกำกับดูแลของส่วนพัฒนาและเผยแพร่องศ์ความรู้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุพืช

ลักษณะภูมิประเทศ

    เป็นที่ราบ มีคูน้ำด้านทิศตะวันออกและคูน้ำไหลผ่านสวนรุกฃชาติ มีชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมล้อมรอบ

สภาพป่า

   ลักษณะพืชพรรณในบริเวณสวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร มีพรรณพืชหลากหลายไม่น้อยกว่า ๒๓๘ ชนิด มี ทั้งพรรณพืชเดิมและเกิดจากการปลูกรวบรวม ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ยางนา ลัก อินทนิล'นา ประดู่ และข่อย

สภาพดิน

   ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งสะสมชองตะกอนตามที่ราบลุ่ม และเป็น แหล่งสะสมชองตะกอนลานตะพักแม่น้ำของแม่น้ำยม

สภาพอากาศ

   ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศค่อนข้างร้อนจัดในฤดูร้อน และเย็นสบายในฤดูหนาว จาก อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน เริ่มต้น ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธุ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิตํ่าสุด 14.4 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33.2 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 911.3 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนสูงสุด 1,113.9 มิลลิเมตร

อาณาเขตพื้นที่ แผนผังสวนรุกฃชาติ และข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของขุมซนโดยรอบ

   สวนรุกฃชาติกาญจนกุมาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโรงช้าง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มีเนื้อที่ 300-1-00 ไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองพิจิตรตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1068 ประมาณ 7 กิโลเมตร

 

แหล่งเรียนรู้ที่่น่าสนใจ  

    สวนรุกขชาติกาญจนกุมารเป็นแหล่งปลูกรวบรวมพันธุไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ และพืชสมุนไพร ไม่น้อย กว่า 238 ชนิด นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการในบริเวณพื้นที่สวนรุกขชาติฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

 

     ศาลหลักเมือง เป็นศาลทรงไทยรูปจัตุรมุข หินอ่อน ขนาดกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีกำแพงแก้ว รอบนอก ภายในเป็นที่ตั้งของหลักเมืองพิจิตร ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ยอดเสาทำด้วยไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระพรหมสี่หน้า ฐานเป็นไม้ลักแกะสลักเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย ศาลหลักเมืองเป็นที่เคารพลักการะของประซาซน ทั่วไปในจังหวัดพิจิตร และจังหวัดใกล้เคียง

     วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยพระธาตุเจคีย์ทรงลังกา ภายในมืพระเครื่องหลายซนิด ซึ่งได้ถูกลักลอบขุดด้นไป ด้านหน้าพระเจคีย์เป็นที่ตั้งพระวิหารเก้าห้อง ด้านหลังพระเจคีย์เป็นพระอุโบสถ์มีใบเสมา 2 ขั้น กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2534 บริเวณใต้เนินดิน ส่วนวิหารได้พบสิ่งก่อสร้าง 2 ยุค คือ สมัย สุโขทัย และสมัยอยุธยา บริเวณโดยรอบมีแนวกำแพงขนาดใหญ่และเจคีย์อยู่เป็นจำนวนมาก

สถานศึกษาในจังหวัดพิจิตรและจังหวัดใกล้เคียงมีการขอใช้สถานที่สวนรุกชชาติกาญจนกุมารเพื่อจัด กิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ เนตรนารี


สถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

     สถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ท้องที่หมู่ที่ 5 ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในระวางแผนที่ 5040 III บริเวณพิกัดละติจูด 15 ลิปดา 67 องศาเหนือ ลองติจูด 100 ลิปดา 24 องศาตะวันออก

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำและนกน้ำ ซึ่งมีความสำคัญและความหลากหลายทางระบบนิเวศน์ และจะกำหนดให้พื้นที่บึงบอระเพ็ดเป็นพื้นที่ Ramsar site

      2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศ

      3. เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการวางแผนพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งอื่น

      4. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าจำพวกนกน้ำและนกอพยพ

      5. เพื่อบำรุงรักษาระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำ ให้เป็นแหล่งพันธุ์กรรมของพืชและสัตว์ตลอดจนเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำ และแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ

ลักษณะภูมิประเทศ

     สถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดประกอบด้วยบึงขนาดใหญ่ ที่มีน้ำขังตลอดปีและที่ราบลุ่มอยู่รอบบึงมีน้ำท่วมขังในบางฤดูบริเวณสถานี วิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นที่ราบลุ่มติดบึงสภาพเป็นทุ่งหญ้าและนาข้าว มีน้ำจากบึงไหลท่วมขังในบางฤดู (กันยายน-ธันวาคม) มีพรรณไม้ที่โดนน้ำขังขึ้นประปราย ได้แก่ ต้นกระทุ่ม เสม็ดขาว ตะลุมพุก และทองกวาว

ลักษณะภูมิอากาศ

         สภาพอากาศค่อนข้างร้อน ฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง พฤศจิกายน อุณหภูมิเฉลี่ยรายปี 28 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,062 มิลลิเมตร

ชนิดป่าและพรรณไม้

          บึงบอระเพ็ดสามารถแบ่งพื้นที่ตามสภาพพรรณไม้ ใช้เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งหากินของสัตว์ป่า โดยแบ่งออกเป็น 6 ส่วนดังนี้

           1. บริเวณพืชน้ำ มีพันธุ์พืชอยู่ใต้น้ำ ปริ่มน้ำ และบริเวณที่น้ำลึก เช่น แหน สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายฉัตร ดีปรีน้ำ

           2. บริเวณพืชลอยน้ำ มีพืชลอยน้ำอยู่เหนือบริเวณน้ำตื้น เช่น จอกหนูหนู ผักตบชวา ผักแพงพวย ผักบุ้ง กระจับ

           3. บริเวณพืชพ้นน้ำ มียอดพืชโผล่พ้นน้ำบริเวณที่น้ำตื้น เช่น กกสามเหลี่ยม กกฤาษี ปรือ บัวหลวง บัวสาย หญ้าแพรกน้ำ เทียนนา แห้วทรงกระเทียม

           4. บริเวณเกาะ มีพื้นดินในบึง มีพันธุ์พืชขึ้นในฤดูแล้ง แต่ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมหมดหรือท่วมบางส่วน เช่น ลำเจียก อ้อ หญ้าปล้อง หญ้าข้าวนก

           5. บริเวณบึงน้ำจืด มีพื้นดินรอบขอบบึงในฤดูแล้ง ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น สนุ่น จิกนา ก้านเหลือง ทองกวาว

           6.บริเวณทุ่งนามีพื้นดินรอบบึงในฤดูแล้งในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม

สัตว์ป่า

       พื้นที่บริเวณบึงบอระเพ็ดพบนกประจำถิ่นและนกอพยพที่มาหากินในบึงเฉพาะบางฤดูกาลทั้งชนิดที่ทำรังวางไข่ และชนิดที่ไม่ทำรังวางไข่ พบนกในพื้นที่ประมาณ 187 ชนิด แยกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

         1. นกประจำถิ่น เช่น นกอีโก้ง นกอัญชันคิ้วขาว นกพริก นกแอ่นพง นกจาบคาเล็ก นกกระแตแต้แว้ด นกอีเสือหัวดำ

         2. นกอพยพ เช่น นกแอ่นทุ่งใหญ่ นกคูต เป็ดลาย

         3. นกประจำถิ่นและนกอพยพ เช่น นกอีแจว นกแซงแซวหางปลา เป็ดแดง เผ็ดคับแค นกจาบคาหัวเขียว นกอีล้ำ นกอีลุ้ม

งานวิจัย

       1. ความหลากชนิด การปรากฎ และความชุกชมของนกในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

        2. นิเวศวิทยา และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกอีโก้งในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

        3. นิเวศวิทยาเปรียบเทียบของนกอีแจวและนกพริกในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

        4. นิเวศวิทยาและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกอัญชันคิ้วขาวในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

        5. นิเวศวิทยาและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกกวัก

        6. นิเวศวิทยาและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกกระแตแต้แว้ด

จุดที่น่าสนใจ

       บึงบอระเพ็ด มีทัศนียภาพที่สวยงาม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนและดูนก โดยเฉพาะนกน้ำและนกอพยพ ซึ่งมีความสวยงามมาก นอกจากนี้ยังสามารถนำเรือเข้าชมความงามตามธรรมชาติของพื้นที่ มีดอกบัวบานสะพรั่งระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนเมษายน เนื่องจากบึงบอระเพ็ดมีความหลากชนิดของสภาพพื้นที่ จึงทำให้พบนกหลากชนิดซึ่งมีความต้องการถิ่นที่อยู่อาศัยต่างๆ กัน ด้วย จึงเหมาะที่จะเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำและนกในทุกฤดูกาล

การเดินทาง

       เดินทางจากกรุงเทพ – นครสวรรค์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ระยะทาง ประมาณ 234 กิโลเมตร ก่อนเข้าเมืองนครสวรรค์เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3004 นครสวรรค์ – ท่าตะโก ถึงกิโลเมตรที่ 9 เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางไปอุทยานนกน้ำ ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไประยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร ถึงสถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด

สถานที่ติดต่อ

       สถานีวิจัยสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หมู่ที่ 5 ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์


      บ้านป่าคาหรือบ้านผู้ใหญ่ยี เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่บรรพชนชาวม้งได้พาลูกหลานมาตั้งรกราก โดยชื่อหมู่บ้านเดิมนี้เป็นชื่อของผู้นำชาวม้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านตามใบแต่งตั้ง (สน.๑๓) เลขที่ ๑๐/๒๔๘๓ หมายตราตั้งลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยหลวงปริวรรต วรวิจิตร ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เมื่ออดีตเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหา เป็นหมู่บ้านที่มีเส้นทางเข้า-ออกทางเดียว ทำให้การเข้าถึงด้านการศึกษาหรือการประกอบอาชีพมีทางเลือกน้อย การขนส่งหรือการนำพืชผลทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังตลาดเพื่อให้มีรายได้เป็น ไปได้ยากลำบากขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการหมุนเวียนใช้พื้นที่ ประมาณ 3-4 ปี ก็จะกลับมาทำในพื้นที่เดิมอีกครั้ง เมื่อมีความต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการบุกรุกถากถางพื้นที่ทำการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของราษฎรชาวเขา และในพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยตั้งถิ่นฐานอยู่ ถึง 5 เผ่าได้แก่ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง มูเซอ และลีซอ เมื่อความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาทางแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ โดย วันที่ 31 ตุลาคม 2551 ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชีนีนาถ ได้มีหนังสือถึงกองทัพภาค 3 ความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้โดยมุ่งส่งเสริมด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ให้กับราษฎรชาวไทยภูเขาและหมู่บ้านบริวาร” สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ณ บ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่ได้มีโอกาสเข้าถึงวิธีการในการทำการเกษตรแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และได้เข้าถึงวิทยาการด้านการเพาะปลูกที่ไม่ต้องเปิดพื้นที่ใหม่สามารถให้ผลผลิตสูงและตรงตามความต้องการของตลาด ให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความสุข และเกื้อกูลกันอย่างแท้จริง จากบูรณาการความร่วมมือทั้งจากหน่วย ราชการ และราษฎร ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ราษฎรได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน ภูมิประเทศเป็นภูเขาซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร เป็นปุาดงดิบผสมปุาเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำของลำธารและคลองหลายสาย เช่น คลองวังเจ้า คลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทรแล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่โครงการเป็นพื้นที่จัดตั้งสถานี 1,340 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 16,208 ไร่ อยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นที่ลุ่มน้ำชั้นดี (1A) ปัญหาสำคัญของพื้นที่บ้านป่าคา คือ เกษตรกรเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้ปีละครั้ง ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับแนวทางดังกล่าว ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จะใช้แนวทางการผลิตแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน โดยมีเงื่อนไขความรู้ และคุณธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร เกษตรกรเข้าใจในหลักการปลูกพืชต่างๆแบบยั่งยืนและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ได้เข้าไปให้องค์ความรู้ในเรื่องของการปลูก การดูแลรักษาต่างๆ การจัดการภายในสวนกาแฟ การเก็บเกี่ยว วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูป ตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรสู่แปลงเกษตรกรในพื้นที่ โดยการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งยังได้จัดทำแปลงเรียนรู้ภายในพื้นที่โครงการ และแปลงขยายผลในพื้นที่ราษฎร เน้นให้ความสำคัญในการปลูกกาแฟอาราบิก้า ซึ่งเป็นพืชสามารถปลูกเป็นพืชแซมป่าโดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนพืชผักต่างๆเพื่อให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน


 


สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ

         สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปาห้วยขาแข้ง ท้องที่ตำบลระบำ อำเภอ ลานสัก จังหวัดอุทัยธานี หมายเลขระวางแผนที่ 4839 I บริเวณพิกัดละติจูด 15 ลิปดา 48 องศาเหนือ ลองติจูด 99 ลิปดา 29 องศาตะวันออก

วัตถุประสงค์

         1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา รวบรวม แลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่าและสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่า
         2. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
         3. เพื่อบริหารความรู้ทางวิขาการให้ประชาชนเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

ลักษณะภูมิประเทศ

        สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตั้งอยู่เชิงเขานางรำ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่ระดับความสูง 460 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีสภาพเป็นภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบริมห้วย ลำห้วยที่สำคัญ เช่น ลำห้วยสองทาง ลำห้วยช้างตาย ลำคลองคล้อ และห้วยเหลือง
ภูเขาที่สำคัญ อยู่ทางตะวันออก ได้แก่ เขาเขียว (สูง 1,347 เมตร) เขาสูง (สูง 1,554 เมตร)


ลักษณะภูมิอากาศ

        เป็นภูมิอากาศในแนวเชื่อมต่อระหว่างภูมิอากาศร้อน (Tropical climate) กับภูมิอากาศกึ่งร้อน (Sub-tropical climate) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ฤดู คือ

        1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียส
        2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 960 มิลลิเมตร หรือประมาณ 86 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำฝนตลอดปี
        3. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธุ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส โดยช่วงที่แห้งแล้งอยู่ในเดือน พฤศจิกายน – เมษายน มักเกิดไฟไหม้ป่าเป็นประจำทุกปี

ชนิดป่าและพรรณไม้

        1. ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) พบที่ระดับความสูง 1,000 เมตร ขึ้นไป ไม้เด่นที่สำคัญ เช่น ก่อ ในสามสกุล คือ Quercus, Castanopsis และ Lithocarpus
        2. ป่าดงดิบชื้น (Moist evergreen forest) พบที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ยางนา ยางกล่อง ตะเคียนทอง กระบาก เป็นต้น
        3. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) พบที่ระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง สะเดาปัก ยางโอน กัดลิ้น ค้างคาว กระเบากัก เป็นต้น
        4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) พบที่ระดับความสูงระหว่าง 200-600 เมตร ในพื้นที่แห้งแล้ง หน้าดินตื้น เก็บความชื้นได้ไม่นาน พรรณไม้ที่สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง เป็นต้น

 
สัตว์ป่า

        เป็นแหล่งรวมของสัตว์ป่าเขตร้อนของทวีปเอเชีย ไม่น้อยกว่า 712 ชนิด คือ

        1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีอยู่มากว่า 130 ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ถึง 5 ชนิด ที่สำคัญ เช่น ควายป่า เลียงผา สมเสร็จ เก้งหม้อ แมวลายหินอ่อน เป็นต้น
        2. นก มีมากกว่า 360 ชนิด ที่สำคัญ เช่น นกยูง นกเงือกคอแดง พญาแร้ง นกเงือกกรามช้าง นกกก นกหัวขวานใหญ่สีเทา เป็นต้น
        3. สัตว์เลื้อยคลานมีอยู่อย่างน้อย 81 ชนิด มี 3 ชนิด ที่ยังไม่เคยมีรายงานพบมาก่อนในประเทศไทย คือ เต่าห้วยดำ ตุ๊กแกทวาย จิ้งเหลนภูเขาอินเดีย ชนิดที่หายากใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ เต่าหก เต่าเดือย กิ้งก่าเขาหนามยาว ตะพาบแก้มแดง เป็นต้น
        4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีอยู่อย่างน้อย 37 ชนิด เช่น จงโคร่ง กบทูด คางคกแคระ เป็นต้น
        5. ปลาน้ำจืด มีอยู่มากกว่า 105 ชนิด เช่น ปลาฉลาด ปลาเค้า ปลาเลียหิน เป็นปลาชนิดใหม่ของลุ่มแม่น้ำกลองในสกุล Acantopsis และ Cavasius เป็นต้น

งานวิจัย

         1. นิเวศวิทยาของเก้งธรรมดาและเก้งหม้อ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
         2. การประเมินควมหนาแน่นของสัตว์กีบและช้างในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
         3. การศึกษาอัตราการสลายตัวของมูลเก้งธรรมดาและกวางป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
         4. ผลของไฟป่าต่อถิ่นที่อาศัย 4 ประเภท ของสัตว์กินพืชในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
         5. การศึกษาอัตราการสลายตัวของมูลสัตว์กีบคู่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร
         6. นิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร

จุดที่น่าสนใจ

        1. จุดชมวิวเขานางรำ อยู่ห่างจากสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ 1.5 กิโลเมตร สามารถมองเห็นป่าที่สมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของป่าห้วยขาแข้ง ในช่วงฤดูแล้งจะเห็นความสวยงามของการเปลี่ยนแปลง สีสันของใบไม้ ดอกไม้ ในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ บางครั้งใช้เป็นที่สังเกตการณ์เพื่อศึกษาสัตว์บางชนิด


        2. เขาเขียว-เขาใหญ่ ความสูง 1,347 และ 1,554 เมตรตามลำดับใช้เวลาเดินทางในป่าจากสำนักงานสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำถึงเขาเขียว-เขาใหญ่ ประมาณ 1-2 วัน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาที่สวยงาม มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม


การเดินทาง

         เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนครสวรรค์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (เอเชีย) ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าจังหวัดอุทัยธานี ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 ถึงจังหวัดอุทัยธานี ระยะทาง 16 กิโลเมตรจากจังหวัดอุทัยธานี เดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1090 สายอุทัยธานี-ลานสัก เดินทางไปได้ประมาณ 75 กิโลเมตรมีทางแยกเลี้ยวซ้ายเข้าและผ่านที่ทำการ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถึงที่ทำการสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ระยะทางอีกประมาณ 32 กิโลเมตร รวมระยะทางจากจังหวัดอุทัยธานี ถึงสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำประมาณ 107กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ

        สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ตู้ ปณ. 2 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี 61160